ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม (Technology transfer in pharmaceutical)
ชื่อบทความ การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม (Technology transfer in pharmaceutical)
ผู้เขียนบทความ นศภ.ชนันธร จิตติรัตนกุล, นศภ.ณัฐกานต์ ริเริ่มการ, นศภ.นนทวัฒน์ เสียมไหม และภก.ธรรมนูญ ด้วงโสน
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-002-09-2567
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ต.ค. 2567
วันที่หมดอายุ 30 ก.ย. 2568
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) เป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนากระบวนการ ผลิตภัณฑ์ทางด้านเภสัชกรรม โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการขยายขนาดการผลิตจาก pilot batch ไปจนถึง large-scale commercial production ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในกระบวนการทางด้านผลิตภัณฑ์ยา หรือเป็นการถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ยาจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยอาศัยการทำงานที่สอดคล้องกันระหว่างสองฝ่าย เป็นไปตามบทความวิชาการฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงข้อมูลการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม ที่กล่าวถึงความหมายของการถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบด้วยการถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ กระบวนการและความรู้ต่างๆ เกิดขึ้นระหว่างผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี (Sending unit) และผู้รับเทคโนโลยี (Receiving unit) ที่ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนดความจำเป็นในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดตั้งทีมและวางแผนเพื่อให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพสูงสุด การดำเนินการตามแผนงาน และการติดตามและทบทวนความคืบหน้าของการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างการดำเนินการตลอดจนเสร็จสิ้นกระบวนการ รวมถึงการประเมินผล และจัดทำเอกสารเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยมีตัวอย่างการรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน SARS-CoV prototype 2 ชนิด เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณภาพ และประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านเภสัชกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสองฝ่าย
คำสำคัญ
Technology transfer, Pharmaceutical process, Sending unit (ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี), Receiving unit (ผู้รับเทคโนโลยี)