ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
พิษต่อกระดูกจากการใช้ยา tenofovir disoproxil fumarate (TDF)
ชื่อบทความ พิษต่อกระดูกจากการใช้ยา tenofovir disoproxil fumarate (TDF)
ผู้เขียนบทความ ภญ.ปัญญพร วรรณพงศ์สถิต, ภญ.นิตยา ดาววงศ์ญาติ, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-1-000-002-05-2567
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 24 พ.ค. 2567
วันที่หมดอายุ 23 พ.ค. 2568
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.25 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยา Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) เป็นยาในกลุ่ม Nucleoside/Nucleotide Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTI) ที่ใช้ป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี ภาวะความหนาแน่น มวลกระดูก (Bone Mineral Density; BMD) ต่ำ จัดเป็นผลกระทบหนึ่งที่เกิดจากยา TDF สามารถเกิดได้ภายหลังจากได้รับยาในระยะเวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งภาวะความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำนำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น กระดูกหัก รวมถึงภาวะ osteomalacia ซึ่งเป็นความผิดปกติชนิดหนึ่งของกระดูก กลไกในการเกิดคาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสมดุลของกระดูกและผลกระทบจากการทำงานของท่อไตส่วนต้นที่ผิดปกติ ปัจจุบันแนวทางในการเฝ้าระวังและติดตามยังจำกัดเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง การจัดการอาการไม่พึงประสงค์เบื้องต้น คือ การเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่ม NRTI ตัวอื่น เช่น abacavir, zidovudine หรือ tenofovir alafenamide (TAF) การให้แคลเซียมและวิตามินดีในผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำ สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่เกิดพิษต่อกระดูกจากการใช้ยา TDF แม้ยังไม่มีแนวทางและข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน แต่พบว่าการเปลี่ยนยา TDF ร่วมกับการให้ยากลุ่ม bisphosphonate อาจช่วยให้ BMD กลับมาดีขึ้น
คำสำคัญ
tenofovir disoproxil fumarate (TDF)