ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ก.ย. 5 พ.ย. และ 5 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
ภาวการณ์รู้คิดบกพร่องในผู้ป่วยมะเร็ง (Cognitive impairment in cancer patient)
ชื่อบทความ ภาวการณ์รู้คิดบกพร่องในผู้ป่วยมะเร็ง (Cognitive impairment in cancer patient)
ผู้เขียนบทความ มานิตย์ แซ่เตียว*, พิชญ์จิรา สงวนบุญญพงษ์, ภาณุมาศ เยาวศรี
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-003-12-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 28 ธ.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 27 ธ.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคมะเร็งเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก International Agency for Research on cancer (IARC) ได้ทำการศึกษาชื่อ GLOBOCAN ใน ค.ศ. 2020 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งมีจำนวน 19,292,789 ราย จากประชากรโลกทั้งหมด 7,794,798,844 ราย โดยโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งกระเพาะอาหาร ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีรายงานการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมีจำนวน 9,958,133 ราย (IARC, 2020) สำหรับประเทศไทย จากการรายงานของกองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของประเทศไทย ค.ศ. 2019 พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทย มีรายงานการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวน 84,073 ราย (กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562) การรักษาโรคมะเร็งนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ เป้าหมายในการรักษา ชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค และสภาพของผู้ป่วยในขณะที่ทำการรักษา และในบางโรคอาจไม่ได้ใช้วิธีเดียวในการรักษา ต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลของการรักษาที่ดีที่สุด (Devita VT, 2019) จากวิธีการักษาที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีอัตราการรอดชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ
ภาวการณ์รู้คิดบกพร่อง, ผู้ป่วยมะเร็ง, Cognitive impairment, Cancer patient