บทความวิชาการ
Acetylcysteine – beyond mucolytics
ชื่อบทความ Acetylcysteine – beyond mucolytics
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ.ภัณฑิรา ปริญญารักษ์ ดร.ภก.กิติยศ ยศสมบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-019-08-2566
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 06 ก.ย. 2566
วันที่หมดอายุ 05 ก.ย. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Acetylcysteine หรือ N-acetylcysteine (NAC) มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายกลไก ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่หลายหลากทำให้ NAC มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคทางคลินิกหลายโรคเพิ่มเติมจากฤทธิ์ละลายเสมหะ ขนาดการบริหาร NAC ขึ้นกับข้อบ่งใช้และรูปแบบเภสัชภัณฑ์ โดยทั่วไปขนาดการบริหารยาที่แนะนำและได้รับการอนุมัติในหลายประเทศคือ 600 มิลลิกรัมวันละครั้ง รับประทานได้หลายวิธีทั้งการรับประทานแบบผงชง NAC 200 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรือรับประทานแบบผงฟองฟู่/เม็ดฟองฟู่ NAC 600 มิลลิกรัม วันละครั้ง โดยไม่พบความแตกต่างในด้านเภสัชจลนศาสตร์ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดีแม้รับประทาน NAC ในขนาดสูง (มากกว่า 600 มิลลิกรัมต่อวัน) อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ คลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่รุนแรงและหายได้เองหลังจากหยุดใช้ยา ผลิตภัณฑ์ NAC ในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบทั้งผงชง ผงชงชนิดน้ำตาลต่ำ ผงฟองฟู่ เม็ดฟองฟู่ และแคปซูล แต่ละรูปแบบมีขนาดความแรงที่แตกต่างกัน ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับข้อบ่งใช้ ความสะดวกและสภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย
คำสำคัญ
Acetylcysteine NAC กลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์