บทความวิชาการ
ระบบ Computerized provider order entry (CPOE) กับการพัฒนาระบบยา (Computerized Provider Order Entry system and medication system development)
ชื่อบทความ ระบบ Computerized provider order entry (CPOE) กับการพัฒนาระบบยา (Computerized Provider Order Entry system and medication system development)
ผู้เขียนบทความ ภญ.ปภัสรา วรรณทอง
สถาบันหลัก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
รหัสกิจกรรม 5002-1-000-008-08-2566
ผู้ผลิตบทความ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 18 ส.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 17 ส.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบยาในกระบวนการสั่งใช้ยา และถ่ายทอดคำสั่ง โดยนำระบบการสั่งยาผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ Computerized Physician Order Entry (CPOE) มาใช้เพื่อลดโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา อันอาจส่งผลกระทบถึงความปลอดภัยต่อผู้ป่วยได้ ทั้งนี้การพัฒนาระบบ CPOE นั้นสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ โดยส่วนมากมักมีการนำมาใช้คู่กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก หรือ Clinical Decision Support System (CDSS) ซึ่งอาศัยฐานข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วย และข้อมูลทางด้านคลินิกเพื่อการแจ้งเตือน หรือการแสดงให้ผู้ใช้งานระบบทราบถึงข้อมูลที่สำคัญที่มีผลต่อการพิจารณาการสั่งใช้ยาให้กับผู้ป่วย เช่น การแจ้งเตือนเมื่อเกิดการสั่งยาที่ผู้ป่วยแพ้ แจ้งเตือนเมื่อผู้ป่วยมีค่าทางห้องปฏิบัติการที่ต้องได้รับการปรับขนาดยา เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าระบบ CPOE และ CDSS นั้นสามารถลดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ แต่กลับพบว่าหากไม่มีการออกแบบลักษณะของ CPOE ที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในประเภทอื่น เช่น การเลือกยาผิดชนิด ความอ่อนล้าจากการแจ้งเตือนทำให้ละเลยและเกิดความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาได้ โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านรู้จักระบบ CPOE มากขึ้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในระบบยาตามบริบทของโรงพยาบาล เพื่อสร้างระบบ CPOE ที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยามากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ
CPOE, CDSS, การสั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์, Human Factor Engineering