บทความวิชาการ
ตัวทำละลายสีเขียวในการสกัดผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Green solvents for natural products extraction)
ชื่อบทความ ตัวทำละลายสีเขียวในการสกัดผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Green solvents for natural products extraction)
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงศิริพร กิตติวิสุทธิ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-003-08-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 16 ส.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 15 ส.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการใช้สารสกัดหรือสารบริสุทธิ์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาเป็นส่วนประกอบในยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีกระบวนการสกัดสารจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มมากขึ้นด้วย การเตรียมสารสกัดแบบดั้งเดิมมักมีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์จำนวนมาก อีกทั้งมีกระบวนการ ที่มีหลายขั้นตอนและมีการสูญเสียพลังงานกว่าที่จะได้สารที่ต้องการ บางครั้งผลผลิตอาจได้ปริมาณไม่คุ้มค่ากับการสูญเสียพลังงานและตัวทำละลายที่มากมายเหล่านั้น นอกจากนี้การระเหยของตัวทำละลายจำนวนมากยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้นแนวโน้มการใช้ตัวทำละลายทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการสกัดด้วยตัวทำละลายสีเขียว (green solvent extraction) จึงได้รับความนิยมมากขึ้น ตัวทำละลายสีเขียวที่ดี ควรมีความสามารถในการละลายสูง ไม่ติดไฟ มีความเป็นพิษต่ำ และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ง่าย มีราคาที่เหมาะสม และควรนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก การค้นหาตัวทำละลายที่มีสมบัติเหล่านี้ครบถ้วนเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก ทั้งนี้ขึ้นกับสารที่ต้องการสกัด และความพร้อมของอุปกรณ์ที่สามารถรองรับสภาวะที่เหมาะสมกับตัวทำละลายแต่ละชนิดด้วย บทความนี้กล่าวถึงตัวทำละลายสีเขียว 3 ประเภท ได้แก่ ของไหลวิกฤตยิ่งยวด น้ำกึ่งวิกฤต และตัวทำละลายยูเทกติกธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวทำละลายที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันทั้งระดับห้องปฏิบัติการและภาคอุตสาหกรรม ในแง่ของหลักการสกัด ปัจจัยที่มีผลต่อการสกัด และการประยุกต์ใช้ในการสกัดสารจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับยาและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ
คำสำคัญ
การสกัดด้วยตัวทำละลายสีเขียว, ของไหลวิกฤตยิ่งยวด, น้ำกึ่งวิกฤต, ตัวทำละลายยูเทกติกธรรมชาติ