บทความวิชาการ
ยาสำหรับป้องกันการกลับไปดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำและบทบาทของเภสัชกรในประเทศไทย
ชื่อบทความ ยาสำหรับป้องกันการกลับไปดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำและบทบาทของเภสัชกรในประเทศไทย
ผู้เขียนบทความ ผศ.ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-024-06-2566
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 15 มิ.ย. 2566
วันที่หมดอายุ 14 มิ.ย. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การบริโภคแอลกอฮอล์ที่มากเกินพอดีส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม และอาจก่อให้เกิดภาวะติดแอลกอฮอล์ได้ หากบริโภคในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน ปัจจุบันมีนักดื่มทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาข้างต้น เภสัชกรมีความใกล้ชิดกับประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการคัดกรองผู้ดื่มที่มีความเสี่ยงด้วยแบบสอบถามที่เหมาะสมกับบริบทการปฏิบัติงาน เช่น AUDIT, AUDIT-C, ASSIST หรือ SASQ ให้คำแนะนำในการลดการบริโภคแอลกอฮอล์อย่างถูกวิธี ส่งต่อหรือให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา เพื่อป้องกันการกลับมาดื่มซ้ำอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะ disulfiram ที่เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดี แต่หากใช้ไม่เหมาะสมหรือไม่ได้การติดตามอย่างถูกต้องจะทำให้ผู้ที่รับประทานยาเกิดความเสี่ยงได้ และนอกเหนือจาก disulfiram แล้ว ยังมียาป้องกันการกลับไปดื่มซ้ำอื่น ๆ เช่น acamprosate, naltrexone, nalmefene, topiramate, baclofen, gabapentin ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะต่อกลไกการออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกาย และมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนประโยชน์ในระดับที่แตกต่างกันออกไปและเป็นประเด็นที่เภสัชกรควรทราบ แม้ยาบางชนิดอาจยังไม่มีในประเทศไทยก็ตาม
คำสำคัญ
Alcohol dependence, risky drinking, disulfiram, alcohol use disorder, standard drink
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe