บทความวิชาการ
บทบาทเภสัชกรชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ชื่อบทความ บทบาทเภสัชกรชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ผู้เขียนบทความ ภญ.บุศยา กุลบุศย์ หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-009-05-2566
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 10 พ.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 09 พ.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease; CKD) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคร่วมเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อทั้งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุข โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีการดำเนินไปของโรคสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายและต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไต ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรได้รับการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และนักกำหนดอาหาร เพื่อช่วยในการชะลอความเสื่อมของโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ในส่วนของเภสัชกรทั้งผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือผู้ปฏิบัติงานในชุมชน ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยในการให้การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ยาอย่างถูกต้องตามความเหมาะสมของบริบทของผู้ปฏิบัติงาน สำหรับเภสัชกรชุมชนผู้มีบทบาทหลักให้การจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นให้แก่ผู้ป่วย ณ ร้านขายยา ซึ่งเป็นสถานบริการในชุมชนที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงมีโอกาสให้การบริบาลแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ามารับบริการได้เช่นกัน ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจถึงโรคไตเรื้อรัง ยาที่ใช้สำหรับชะลอความเสื่อมของไต ยาสำหรับรักษาภาวะแทรกซ้อน ความเข้าใจถึงยาที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อไตที่มีโอกาสสั่งจ่ายแก่ผู้ป่วย ณ ร้านขายยา รวมถึงการให้คำแนะนำและแนวทางการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เภสัชกรชุมชนสามารถให้การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
คำสำคัญ
บทบาทเภสัชกร เภสัชกรชุมชน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง