บทความวิชาการ
ไซทิซีน ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเลิกบุหรี่
ชื่อบทความ ไซทิซีน ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเลิกบุหรี่
ผู้เขียนบทความ ปวรวรรธน์ เพ็ชรรัตน์, สุมาทวี สิงห์นิกร, นันทิชา รอดแล้ว, อดิณัฐ อำนวยพรเลิศ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-001-03-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 11 มี.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 10 มี.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมียาที่ใช้ในการรักษาเพื่อเลิกบุหรี่จำนวนหลายรายการ แต่ละรายการมีข้อดี ข้อเสีย และราคา/ความคุ้มค่า แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด cytisine เป็นยาที่มีการใช้มาเป็นระยะเวลายาวนานในบางประเทศ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่ไม่เพียงพอทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย จึงทำให้เป็นยาที่ไม่ได้รับความนิยม cytisine เป็นยาในกลุ่ม alpha 4 beta 2 nicotinic receptor agonist ออกฤทธิ์ โดยจะไปแย่งจับกับ α4β2 nicotinic receptor (nAChR) แล้วกระตุ้นการทำงานของตัวรับ (Partial agonist) ที่บริเวณ α4β2 ซึ่งเป็นตำแหน่งตัวรับหลักในระบบประสาทส่วนกลางที่นิโคตินไปออกฤทธิ์ ทำให้เกิดการหลั่งของ dopamine ในสมองแทนการสูบบุหรี่ และ ออกฤทธิ์เป็น antagonist โดยตัวยาจะไปแย่งจับกับ nAChR ทำให้ตัวรับที่จะจับกับนิโคตินมีปริมาณลดลงหรือไม่มีเลย ส่งผลให้ reward effect จากการสูบบุหรี่มวนต่อๆไปลดลง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า การสูบบุหรี่่ไม่มีรสชาติ จึงเป็นอีกกลไกที่เสริมให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น โดยขนาดการใช้ยาจะถูกปรับไปตามแผนการรักษาจนครบ 25 วัน ผลการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า cytisine มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่ได้เมื่อเทียบกับยาหลอก และ nicotine replacement therapy อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบส่วนใหญ่เกิดกับระบบทางเดินอาหาร ระดับความรุนแรงอยู่ในระดับน้อย ถึง ปานกลาง และ cytisine จัดเป็นรายการยาที่มีความคุ้มค่าอีกตัวหนึ่ง ที่อาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเลิกบุหรี่ในอนาคต
คำสำคัญ
cytisine, เลิกบุหรี่