บทความวิชาการ
การอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎี เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับเภสัชกร
ชื่อบทความ การอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎี เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับเภสัชกร
ผู้เขียนบทความ ภญ.พัณณิตา วัฒเรืองชัย, ภญ.พรวลัย บุญเมือง, ภญ.วิภารักษ์ รัตนวิภานนท์, ภญ.จันทร์พร ก้องวัชรพงศ์, ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ, ภญ.ธนาพร คุ้มสว่าง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-006-02-2566
ผู้ผลิตบทความ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 20 ก.พ. 2566
วันที่หมดอายุ 19 ก.พ. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) เป็นภาวะที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย คาดว่ามีผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวประมาณร้อยละ 1.3-5 ของจำนวนประชากรทั่วไป และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งพบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการรักษาภาวะหัวใจมากขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่กลับพบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวยังมีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูง โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 20 ที่ 1 ปี และร้อยละ 50 ที่ 5 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและการเข้านอนซ้ำในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันยังสูงมาก โดยข้อมูลของทางโรงพยาบาลศิริราช พบว่าอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลศิริราชสูงถึงถึงร้อยละ 4.4-8.2 ในช่วงปีพ.ศ. 2561-2563 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทยและของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5.5 และ 3.8 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีอัตราการเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันสูงเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังได้รับการรักษาที่ต่ำกว่ามาตราฐานที่ควรจะเป็น โดยส่วนหนึ่งเกิดจากความซับซ้อนของการรักษาที่มีการใช้ยาหลายชนิด รวมถึงการขาดความรู้ความชำนาญของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวแบบสหสาขาวิชาชีพ ซึงประกอบด้วยอายุรแพทย์โรคหัวใจ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญ และเภสัชกร และร่วมทำงานกับนักกำหนดอาหาร (dietician) กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ (cardiac rehabilitation) และกลุ่มงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการรักษา (patient-centered multidisciplinary care) โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำและการเสียชีวิตลง โดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีขึ้น และส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาลดลงตามมา เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กลุ่มงานภาวะหัวใจล้มเหลว สาขาวิชาหทัยวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงจัดทำโครงการการฝึกอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎีเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับเภสัชกร โดยมีจุดประสงค์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว แก่เภสัชกรและบุคลากรภายในที่เกี่ยวข้อง โดยหวังผลให้เภสัชกรเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ในการร่วมดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยต่อไป
คำสำคัญ
วิธีสมัครสมาชิก
รับชมผ่านเว็บไซต์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช ได้ที่ลิงก์ https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/pharmacy/news_detail.asp?id=150 https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/pharmacy/news_detail.asp?id=151