บทความวิชาการ
ยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด
ชื่อบทความ ยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด
ผู้เขียนบทความ มนฤดี สุขมา, ศรีสมบัติ นวนพรัตน์สกุล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-1-000-001-02-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ก.พ. 2566
วันที่หมดอายุ 26 ก.พ. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด(chemotherapy-induced nausea and vomiting;CINV) เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่สำคัญมากต่อทั้งด้านสุขภาพเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ความไม่ร่วมมือในการรักษาและไม่ประสบความสำเร็จในการรักษาได้ บทความนี้จะระบุถึงยาและแนวปฏิบัติการรักษาต่างๆ ที่ใช้เพื่อป้องกัน CINV ในทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการพัฒนายากลุ่มใหม่และเริ่มใช้ยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่างกันร่วมกันเพื่อให้ครอบคลุมสารสื่อประสาทส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับ CINV เช่น serotonin และ neurokinin มีการให้ยาโดยพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงซึ่งประกอบด้วยปัจจัยทางด้านยาและปัจจัยทางด้านผู้ป่วย ปัจจัยทางด้านยาได้มีการจัดยาเคมีบำบัดเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะทำให้เกิด CINV เรียกว่าเคมีบำบัดที่ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนในระดับสูง (highly emetogenic chemotherapy; HEC) ระดับปานกลาง (moderately emetogenic chemotherapy; MEC) ระดับต่ำ (low emetogenic chemotherapy; LEC) และระดับเล็กน้อย (minimally emetogenic chemotherapy; Minimally EC) ปัจจัยทางด้านผู้ป่วย เช่น เพศหญิง มีประวัติแพ้ท้อง มีการเปรียบเทียบแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิด CINV สำหรับ HEC แนวปฏิบัติส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ยาป้องกันการอาเจียน 4 ชนิดต่างกันได้แก่ serotonin-3 receptor antagonist (5-HT3RA), neurokinin-1 (NK-1) receptor antagonist (NK-1RA), dexamethasone และ olanzapine) สำหรับ MEC ใช้ยา 3 ชนิด (5HT-3RA, NK-1RA และ dexamethasone) ทั้งนี้ได้รวบรวมงานวิจัยในปัจจุบันเพื่ออธิบายข้อดีและข้อเสียของยาที่ใช้เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้ยาต่อไป
คำสำคัญ
อาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด, เภสัชวิทยา, แนวทางปฏิบัติ