บทความวิชาการ
การวิเคราะห์เชิงสถิติที่ใช้ในกระบวนการออพติไมเซชัน
ชื่อบทความ การวิเคราะห์เชิงสถิติที่ใช้ในกระบวนการออพติไมเซชัน
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.ภก.เพียรกิจ แดงประเสริฐ
สถาบันหลัก วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รหัสกิจกรรม 1012-1-000-003-12-2565
ผู้ผลิตบทความ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ธ.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 26 ธ.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
กระบวนการออพติไมเซชัน (optimization process) หมายถึงการดำเนินการอย่างสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ หรือปฏิบัติได้ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ควบคุมได้ (controllable variables) หรือตัวแปรอิสระ (independent variables) กับตัวแปรตาม (dependent variable) หรือผลตอบสนอง (response) ในทางเภสัชกรรมตัวแปรอิสระได้แก่ตัวแปรในแง่ของตำรับและกระบวนการดำเนินการผลิตที่ผู้พัฒนาตำรับสามารถควบคุมและเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนตัวแปรตามได้แก่คุณสมบัติในรูปแบบเชิงปริมาณ (quantitative) ของเภสัชภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมา ในกระบวนการออพติไมเซชันจะหาความสัมพันธ์ดังกล่าวผ่านการดำเนินการทดลองผลิตเภสัชภัณฑ์ โดยทำการเปลี่ยนแปลงระดับของตัวแปรอิสระต่าง ๆ ในตำรับและกระบวนการผลิตที่สนใจศึกษาอย่างมีระบบ ด้วยการใช้การออกแบบการทดลองเชิงสถิติ (statistical experimental design) จากนั้นจึงนำผลการทดลองที่ได้มาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของเภสัชภัณฑ์กับระดับของตัวแปรอิสระต่าง ๆ โดยใช้การถดถอยพหุคูณ (multiple regression) บทความนี้กล่าวถึงหลักการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความมีนัยสำคัญของผลของตัวแปรอิสระต่าง ๆ ทั้งผลโดยรวมและผลตามลำพังที่มีต่อตัวแปรตามหรือคุณสมบัติของเภสัชภัณฑ์ที่ผลิตจากกระบวนการผลิต เพื่อที่จะได้สร้างความสัมพันธ์ในลักษณะของโมเดลคณิตศาสตร์ (mathematical model) ที่มีความน่าเชื่อถือทางสถิติสูง ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตกับคุณสมบัติของเภสัชภัณฑ์ที่ผลิตได้ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการผลิตเภสัชภัณฑ์ที่มีคุณภาพโดยรวมที่เหมาะสมที่สุด โดยผ่านการควบคุมระดับของปัจจัยต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
คำสำคัญ
การวิเคราะห์เชิงสถิติ ออพติไมเซชัน การถดถอยพหุคูณ