บทความวิชาการ
แนวทางและความเป็นไปได้ในการพิมพ์ 3 มิติด้วยเทคนิค Fused deposition modeling (FDM) สำหรับการนำส่งยาในทางเภสัชกรรม
ชื่อบทความ แนวทางและความเป็นไปได้ในการพิมพ์ 3 มิติด้วยเทคนิค Fused deposition modeling (FDM) สำหรับการนำส่งยาในทางเภสัชกรรม
ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ปกรณ์ ไกรสิทธิ์ และ เปรมจิตต์ ลิมปมโนชญ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-004-12-2565
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 20 ธ.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 19 ธ.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การพิมพ์ 3 มิติเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งในทางเภสัชกรรมก็เริ่มได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติสามารถออกแบบและพัฒนารูปแบบยาให้มีความซับซ้อนทางรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งช่วยให้การปรับเปลี่ยนขนาดยาที่ใช้รวมไปถึงการปลดปล่อยยาเป็นไปตามที่ต้องการและมีประสิทธิภาพที่ดีในการรักษา สำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินั้น มีเทคนิคในการเตรียมชิ้นงาน 3 มิติได้หลายวิธี ซึ่งเทคนิคที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ fused deposition modeling (FDM) โดยถือเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนที่ต่ำและสามารถเข้าถึงได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคอื่น ๆ โดยเทคนิค FDM จะมีการใช้วัสดุที่เป็นพอลิเมอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเส้นใย (filament) หลังจากนั้นเส้นใยจะได้รับความร้อนและเกิดการหลอมแล้วขึ้นรูป 3 มิติทีละชั้นบนฐานรองของเครื่องพิมพ์ 3 มิติตามที่ได้ออกแบบไว้ในโปรแกรม ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เทคนิคดังกล่าวในการเตรียมยารูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปแบบยาเม็ด รูปแบบยาแคปซูล รูปแบบยาฟิล์ม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำส่งยาแบบอื่น ๆ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติด้วยวิธีการดังกล่าวจะเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมยาให้มีการพัฒนายารูปแบบใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรคที่ดีขึ้นได้ในอนาคต
คำสำคัญ
การพิมพ์ 3 มิติ, Fused Deposition Modeling (FDM), ระบบนำส่งยา, เภสัชกรรม