บทความวิชาการ
แนวทางการรักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อตาม Surviving sepsis guideline ฉบับ พ.ศ. 2564 สำหรับเภสัชกร
ชื่อบทความ แนวทางการรักษาภาวะพิษเหตุติดเชื้อตาม Surviving sepsis guideline ฉบับ พ.ศ. 2564 สำหรับเภสัชกร
ผู้เขียนบทความ อ.ภญ.ธนภรณ์ วงศ์นาวา และ อ.ภญ.สุธินี แต้โสตถิกุล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-008-11-2565
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 14 พ.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 13 พ.ย. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อหรือ sepsis เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดการทํางานผิดปกติของระบบอวัยวะอย่างรุนแรง และยังเป็นภาวะวิกฤติฉุกเฉินในเวชปฏิบัติที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง การรักษาภาวะ sepsis จึงมุ่งเน้นในการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ sepsis ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ป้องกันการทำงานของอวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบตลอดจนเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต แนวทางการรักษาภาวะ sepsis ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติคือ Surviving Sepsis Campaign จัดทำขึ้นโดยสมาคมเวชบำบัดวิกฤตของยุโรป (The European Society of Intensive Care Medicine : ESICM) และสหรัฐอเมริกา (The Society of Critical Care Medicine : SCCM) ซึ่งมีการปรับปรุงคำแนะนำในแนวทางการรักษาอย่างต่อเนื่องตามหลักฐานทางเชิงประจักษ์ บทความนี้ได้รวบรวมคำแนะนำที่มีการเปลี่ยนแปลงในแนวทางการรักษาฉบับที่มีการปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ. 2564 เปรียบเทียบกับแนวทางการรักษาฉบับปี พ.ศ. 2559 ในส่วนของการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นโดยใช้คะแนนการประเมินชนิดต่างๆ เพื่อให้สามารถค้นหาผู้ป่วยที่มีภาวะ sepsis ได้รวดเร็วและแม่นยำ แนวทางการกู้ชีพเบื้องต้น (initial resuscitation) โดยการให้สารน้ำ และยากระตุ้นความดันโลหิต (vasopressors) การพิจารณาให้ยาต้านจุลชีพอย่างรวดเร็วและควบคุมแหล่งติดเชื้ออย่างเหมาะสม รวมถึงการรักษาเสริมอื่นๆ ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ sepsis และลดอัตราการเสียชีวิตได้
คำสำคัญ
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, ภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ, sepsis, septic shock, Surviving Sepsis Campaign