บทความวิชาการ
วิศวกรรมเอนไซม์สำหรับการใช้งานทางเภสัชกรรม (Enzyme engineering for pharmaceutical applications)
ชื่อบทความ วิศวกรรมเอนไซม์สำหรับการใช้งานทางเภสัชกรรม (Enzyme engineering for pharmaceutical applications)
ผู้เขียนบทความ นศภ. สุรพิชญ์ รัตน์เถลิงศักดิ์ และ อ.ดร.ลิตวดี เจือบุญ
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-006-11-2565
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 16 พ.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 15 พ.ย. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วิศวกรรมเอนไซม์ (Enzyme engineering) ถูกคิดค้นเพื่อปรับปรุงการทำงานของเอนไซม์ ทั้งในด้านการเร่งปฏิกิริยา เพิ่มความจำเพาะต่อสารตั้งต้น หรือเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น วิธีวิศวกรรมเอนไซม์เกี่ยวข้องกับการทำ gene mutagenesis ตามด้วยการคัดเลือกเอนไซม์กลายพันธุ์ (screening) เพื่อหาเอนไซม์กลายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดีที่สุด ปัจจุบันเทคนิคนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น วิศวกรรมเอนไซม์ Alcohol dehydrogenase เพื่อสังเคราะห์สารตัวกลางของยาต้านมะเร็ง Ibrutinib ซึ่งอาศัย enzymatic cascade ทำให้ลดขั้นตอนการสังเคราะห์ยาเหลือเพียง 1 ขั้นตอน และได้ผลิตภัณฑ์แบบ (s)-stereoselectivity มากถึง 99% อีกหนึ่งตัวอย่างคือการสังเคราะห์ Islatravir ยาต้านไวรัส HIV โดยเกิดจากการทำวิศวกรรมเอนไซม์ 5 ชนิด แบบ direct evolution พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณการสังเคราะห์ยาได้ 51% จึงเห็นได้ว่างานวิศวกรรมเอนไซม์สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสังเคราะห์สารได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม
คำสำคัญ
ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมเอนไซม์ สังเคราะห์ยา