0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
ความก้าวหน้าของระบบนำส่งรูปแบบนิโอโซม
ชื่อบทความ
ความก้าวหน้าของระบบนำส่งรูปแบบนิโอโซม
ผู้เขียนบทความ
ผศ. ดร. ภญ.ลลนา คงคาเนรมิตร
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม
1017-1-000-003-10-2565
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
21 ต.ค. 2565
วันที่หมดอายุ
20 ต.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
นิโอโซม (niosomes) มีลักษณะเป็นถุง (vesicles) มีโครงสร้างเป็นผนัง หรือเมมเบรนสองชั้น (bilayer) ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดนิโอโซมนั้น ได้แก่ ดุลความชอบน้ำและไขมัน รูปทรงของโมเลกุล และค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนจากเจลเป็นของเหลว (gel liquid transition temperature; Tc) ส่วนประกอบหลักในตำรับนิโอโซม ได้แก่ สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ (non-ionic surfactants) และสารเสริมที่เหมาะสม เช่น คอเลสเตอรอล (cholesterol) และอาจพบการใช้สารก่อประจุร่วมด้วย ชนิดของนิโอโซมอาจแบ่งเป็นชนิดอนุภาคที่มีขนาดเล็กและผนังชั้นเดียว (small unilamellar vesicle; SUV), อนุภาคที่มีขนาดใหญ่ผนังชั้นเดียว (large unilamellar vesicle; LUV) และอนุภาคที่มีผนังหลายชั้น (multilamellar vesicle; MLV) การเตรียมนิโอโซมทำได้หลายวิธี และหลังการเตรียมก็มีวิธีที่ใช้แยกตัวยาที่ไม่ได้กักเก็บในอนุภาคด้วย ซึ่งการแยกหรือไม่แยกตัวยาที่ไม่ได้กักเก็บภายในอนุภาคออกจากตำรับนั้นขึ้นกับจุดมุ่งหมายของตำรับ จากนั้นตำรับที่เตรียมได้ต้องนำมาศึกษาคุณลักษณะ ได้แก่ รูปร่าง จำนวนชั้นของผนังอนุภาค ขนาดอนุภาค การกระจายขนาดอนุภาค (polydispersity index; PDI) ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าซีต้า (zeta-potential) การไหลของผนังอนุภาค (bilayer fluidity) ประสิทธิภาพในการกักเก็บและความคงสภาพ เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพและพัฒนาตำรับ นอกจากนี้มีตัวอย่างงานวิจัยการใช้นิโอโซมในระบบนำส่งยา และผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดแสดงไว้ด้วย
คำสำคัญ
นิโอโซม, สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ, เครื่องสำอาง, ระบบนำส่ง