บทความวิชาการ
แนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัวต่อภาวะลองโควิด (Long COVID)
ชื่อบทความ แนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัวต่อภาวะลองโควิด (Long COVID)
ผู้เขียนบทความ นศภ.สิรภพ ยืนยง นศภ.สุวิชชา สาสีดา และภก.อนวัช มิตรประทาน
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-002-10-2565
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 ต.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 20 ต.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคโควิด-19 (Covid-19) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการแสดงไปจนถึงมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยในบางรายถึงแม้จะรักษาหายจากอาการโควิดแล้ว แต่ยังคงมีอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังจากการหลังได้รับเชื้อและรักษาหายแล้ว หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ได้ เรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome)” ภาวะ Long COVID หรือกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (Post COVID syndrome) คือ ภาวะที่มีอาการหรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ หรือต่อเนื่องภายหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบและอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพจิต โดยกรมการแพทย์ร่วมกับกรมสุขภาพจิตร่วมกับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนทีมแพทย์จากราชวิทยาลัยและสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้จำแนกตามกลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการทั่วไปของร่างกาย, กลุ่มอาการระบบหัวใจและหลอดเลือด, กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ, กลุ่มอาการทางระบบประสาท, กลุ่มอาการทางผิวหนังและเส้นผม และกลุ่มอาการทางสุขภาพจิต ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุและพยาธิสภาพของการเกิดภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน มีเพียงสมมติฐานที่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับ fragments of viral genome or viral antigens ซึ่งไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อแล้ว แต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการสงสัยภาวะ Long COVID จะมีการซักประวัติและการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุและให้การดูแลรักษา รวมถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
คำสำคัญ
Long COVID, Post COVID syndrome, Light aerobic exercise, Telogen effluvium, SAR-CoV-2, Acute respiratory distress syndrome (ARDS), Pulmonary fibrosis, Beta Blockers, Topical minoxidil