บทความวิชาการ
เภสัชวิทยาคลินิกและบทบาทของ EGb 761 ในการรักษาอาการเวียนหัวบ้านหมุนและเสียงดังในหู (บทความวิชาการ 4)
ชื่อบทความ เภสัชวิทยาคลินิกและบทบาทของ EGb 761 ในการรักษาอาการเวียนหัวบ้านหมุนและเสียงดังในหู (บทความวิชาการ 4)
ผู้เขียนบทความ รศ.นพ. จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ภก.ดร.กิติยศ ยศสมบัติ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-008-10-2565
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 20 ต.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 19 ต.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ EGb 761 หรือ Extract of Ginkgo biloba 761 คือสารสกัดมาตรฐานสูงจากใบของต้นแปะก๊วยซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลายที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยเฉพาะฤทธิ์ยับยั้งการตายของเซลล์ (anti-apoptotic effect) ลดการอักเสบ (anti-inflammatory effect) การปกป้องไมโทคอนเดรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการเกิด tau-protein ผิดปกติในสมอง และเพิ่มการสังเคราะห์ growth factor ของเซลล์ประสาทสมอง EGb 761 จึงมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาภาวะหูอื้อ (มีเสียงดังในหู) เวียนหัวบ้านหมุน บรรเทาอาการที่เกิดจากความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อย (Symptomatic treatment of mild cognitive impairment (MCI)) โรคสมองเสื่อมเล็กน้อยหรือปานกลางและแบบผสม ความผิดปกติในการทำงานของสมองที่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และเส้นเสือดส่วนปลายอุดตัน โดยพบว่าการใช้ EGb 761 ในขนาดที่เหมาะสมคือวันละ 120-240 มิลลิกรัม มีประสิทธิภาพทางคลินิกในระดับที่น่าพอใจ อาการไม่พึงประสงค์พบน้อยและส่วนใหญ่ไม่รุนแรง สารสำคัญที่เป็นหลักในการออกฤทธิ์ของใบแปะก๊วยคือ flavone-glycosides, bilobalides และ ginkgolides ซึ่งมีโอกาสที่จะพบความแตกต่างกันระหว่างสารสกัด EGb 761 ที่เป็นมาตรฐาน กับผลิตภัณฑ์จากใบแปะก๊วยที่สกัดโดยวิธีอื่น ๆ นอกจากนี้ยังต้องมีการควบคุมคุณภาพของกระบวนการสกัดเพื่อให้มี ginkgolic acids ในระดับต่ำที่สุดเพราะเป็นสารที่อาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาทสมองได้ ดังนั้น ข้อมูลของสารสกัดใบแปะก๊วยที่แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยนั้นเป็นข้อมูลการศึกษาทางคลินิกที่ใช้ EGb 761 เป็นหลัก ซึ่งอาจพบผลแตกต่างกันได้เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับสารสกัดใบแปะก๊วยอื่น ๆ ดังนั้นการเลือกใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยเพื่อให้เกิดประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดจึงควรพิจารณาในด้านคุณภาพการผลิตและมาตรฐานกระบวนการสกัดร่วมด้วย
คำสำคัญ
แปะก๊วย, EGb 761, หูอื้อ, เวียนหัวบ้านหมุน, สมองเสื่อมเล็กน้อย, MCI