ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
เทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนวิถีเมตาบอลิกสำหรับการคิดค้นและพัฒนายา (Metabolic engineering for drug discovery and drug development)
ชื่อบทความ เทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนวิถีเมตาบอลิกสำหรับการคิดค้นและพัฒนายา (Metabolic engineering for drug discovery and drug development)
ผู้เขียนบทความ นศภ.ซอบารียะฮ์ บาราเฮง เเละอ.ดร.ลิตวดี เจือบุญ
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-005-10-2565
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 ต.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 04 ต.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนวิถีเมตาบอลิก (Metabolic engineering) เป็น การปรับเปลี่ยนกระบวนการสร้างและสลายสารในวิถีเมตาบอลิกต์ของเซลล์ เพื่อเพิ่มการผลิตสารมูลค่าสูงที่เกิดขึ้นภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ เทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนวิถีเมตาบอลิกถูกนำไปประยุกต์ใช้กับงานทางเภสัชกรรมด้านการผลิตโมเลกุลยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสังเคราะห์ยา เช่น artemisinin, paclitaxel ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีการนำแบคทีเรียร่วมกับการใช้พันธุวิศวกรรมมาใช้ผลิตสารเคมีและสารตัวกลางทางยา อันทำให้เกิดการทำนายกระบวนต่างๆภายในเซลล์ นำไปสู่การปรับปรุงการแสดงออกของยีนที่น่าสนใจในแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น การสังเคราะห์ยาปฏิชีวะ carbapenems ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีปรับเปลี่ยนวิถีเมตาบอลิกใน Escherichia coli (E.coli) ทำให้ได้ผลผลิตทางยาที่เพิ่มขึ้น 60 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิถีชีวสังเคราะห์เดิม รวมถึงการพัฒนา E. coli สายพันธุ์ที่มีความยืดหยุ่นทางพันธุกรรมและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สามารถเพิ่มผลผลิตยาปฏิชีวนะได้ ดังนั้นเทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนวิถีเมตาบอลิกเป็นหนึ่งในงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการวิจัยคิดค้น และพัฒนายา นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพของการผลิตยาในระดับอุตสาหกรรมได้
คำสำคัญ
เทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนวิถีเมตาบอลิก วิถีเมตาบอลิก วิถีชีวสังเคราะห์ เทคโนโลยีชีวภาพ