บทความวิชาการ
การใช้และความปลอดภัยของฮอร์โมนสำหรับเปลี่ยนกายภาพ ทางเพศ ในหญิงข้ามเพศ (Use and safety of hormone treatment for transforming physical sexual appearance in transgender women)
ชื่อบทความ การใช้และความปลอดภัยของฮอร์โมนสำหรับเปลี่ยนกายภาพ ทางเพศ ในหญิงข้ามเพศ (Use and safety of hormone treatment for transforming physical sexual appearance in transgender women)
ผู้เขียนบทความ รศ. ดร. ภญ.จุราพร พงศ์เวชรักษ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-001-09-2565
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 ก.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 04 ก.ย. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
หญิงข้ามเพศ (transgender women) คือ ชายโดยกำเนิดที่ประสงค์เปลี่ยนกายภาพทางเพศให้เป็นหญิง ซึ่งสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ด้วยการใช้ฮอร์โมนเพศหญิงร่วมกับยาต้านฮอร์โมนเพศชาย แบบแผนฮอร์โมนที่แนะนำคือ 17 -estradiol ชนิดรับประทานหรือแผ่นติดผิวหนังหรือเจลทาผิวหนัง ร่วมกับโปรเจสตินชนิดรับประทาน cyproterone acetate เป้าหมายของการได้รับฮอร์โมนคือ 1) ลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือดให้ต่ำกว่า 50 ng/dL และระดับฮอร์โมนอีสตราไดออลอยู่ระหว่าง 100-200 pg/mL ซึ่งเป็นระดับปกติของหญิงทั่วไป และ 2) มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะกายภาพทางเพศเป็นหญิง ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ประมาณ 3-6 เดือน จึงเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบางอย่าง สามารถกลับคืนสู่สภาวะเดิมของเพศกำเนิดได้กรณีหยุดฮอร์โมน และบางอย่างเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร ความปลอดภัยจากการได้รับฮอร์โมนในหญิงข้ามเพศยังไม่อาจสรุปได้ชัดเจน เนื่องจากข้อมูลการศึกษาส่วนใหญ่มาจากการศึกษาย้อนหลัง และหญิงข้ามเพศบางส่วนใช้ฮอร์โมนด้วยตนเองซึ่งไม่มีข้อมูลรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัย การประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำระหว่างการใช้ฮอร์โมนต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะความเสี่ยงต่อหญิงข้ามเพศควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของฮอร์โมนและแบบแผนการใช้ที่เหมาะสม ผลที่คาดหวังและผลไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความสำคัญของการติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ
ฮอร์โมน; หญิงข้ามเพศ; ความปลอดภัย; Transgender women