บทความวิชาการ
การใช้แอล-คาร์นิทีนในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำการรักษาด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้อง
ชื่อบทความ การใช้แอล-คาร์นิทีนในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำการรักษาด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้อง
ผู้เขียนบทความ กฤติญา เยือกเย็น, ลลิตภัทร ตรีรัตนพันธ์, ภ.บ.,ว.ภ.
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-1-000-003-08-2565
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ส.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 31 ก.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคไตเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สาเหตุของโรคไตในเด็กจะแตกต่างกันตามช่วงอายุ ใน เด็กเล็กส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพันธุกรรมแต่กำเนิด สำหรับเด็กโตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะไตอักเสบ จากการติดเชื้อและอื่นๆ ซึ่งทำให้ความสามารถในการทำงานของไตลดลง ส่งผลกระทบต่อการกำจัดของเสียและสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงคาร์นิทีน โดยสาเหตุของการเกิดภาวะขาดแอล-คาร์นิทีนในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ การ รับประทานอาหารที่มีคาร์นิทีนไม่เพียงพอ ความสามารถในการสังเคราะห์คาร์นิทีนที่ไตลดลง รวมถึงสูญเสียคาร์นิทีนอิสระ ผ่านทางการฟอกเลือด หรือน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง และมีการสูญเสียเอซิลคาร์นิทีนจากการขับออกทางไต จึงควรมีการเสริม แอล-คาร์นิทีนแก่ผู้ป่วย ในปัจจุบันขนาดของแอล-คาร์นิทีนเริ่มต้นที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไตที่รักษาด้วยวิธีล้างไตทาง ช่องท้องยังไม่ชัดเจน มีเพียงขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเท่านั้น โดยขนาดเริ่มต้นที่แนะนำได้แก่ 10-20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังฟอกเลือด และแนะนำในรูปแบบฉีด แต่ในประเทศไทยมีเพียงแอล-คาร์นิทีนรูปแบบ รับประทานซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเท่านั้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิภาพในการใช้แอล-คาร์นิ ทีนในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายยังมีจำกัด จึงควรมีการศึกษาและติดตามเพิ่มเติมในอนาคต
คำสำคัญ
แอล-คาร์นิทีน, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, ล้างไตทางช่องท้อง, ผู้ป่วยเด็ก