บทความวิชาการ
ท้องผูกเรื้อรังและการใช้ยาระบาย
ชื่อบทความ ท้องผูกเรื้อรังและการใช้ยาระบาย
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภก.ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-015-09-2565
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 05 ก.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 04 ก.ย. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ท้องผูกเป็นภาวะความผิดปกติที่มีการถ่ายอุจจาระด้วยความถี่น้อยกว่าปกติ อุจจาระแข็ง มีน้ำในอุจจาระน้อย จนทำให้เกิดความยากลำบากในการขับถ่ายหรือเกิดการอุดตันในการถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยที่ท้องผูกมักรู้สึกอึดอัดไม่สบายท้องจนส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิต สำหรับผู้ที่ท้องผูกเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ในปัจจุบันนิยมใช้ Rome IV criteria for functional constipation สำหรับการประเมินภาวะท้องผูกเรื้อรัง โดยการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิตเป็นการรักษาหลักของภาวะท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีกากใยและการดื่มน้ำให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ในการบรรเทาอาการซึ่งระบุไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2564 สำหรับการรักษาด้วยยานั้นอาจพิจารณาจากความรุนแรงของอาการท้องผูก โดยผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงแนะนำให้ใช้ยาช่วยบรรเทาอาการท้องผูกเป็นครั้งคราว แต่หากมีอาการปานกลางหรือรุนแรง ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาระบายอย่างต่อเนื่องด้วยขนาดยาที่เหมาะสม โดยขนาดยาที่ใช้ในระยะยาวควรเป็นขนาดที่ต่ำที่สุดซึ่งยังคงให้ผลการรักษา สำหรับผู้ที่ใช้ยาระบายติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์แต่ยังคงไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน ทั้งนี้มียาระบายหลายชนิดให้เลือกใช้ในปัจจุบัน สามารถแบ่งยาเหล่านี้ตามกลไกการออกฤทธิ์หลักได้เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการขับน้ำและแร่ธาตุ และยาที่ออกฤทธิ์ทั้งสองกลไกควบคู่กัน ทั้งนี้ยาแต่ละชนิดล้วนมีคุณลักษณะเฉพาะ รวมทั้งข้อควรรู้ในการใช้ยาที่แตกต่างกัน
คำสำคัญ
ยาระบาย, ท้องผูกเรื้อรัง, แนวทางการรักษา
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe