ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
Drugs for Refractory Status Epilepticus
ชื่อบทความ Drugs for Refractory Status Epilepticus
ผู้เขียนบทความ ศุภกิต ปิ่นทอง, วีรยุทธิ์ แซ่ลิ้ม
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-004-06-2565
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 มิ.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 31 พ.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาที่ใช้รักษาภาวะชักต่อเนื่องที่ดื้อต่อการรักษาตามแนวทางการรักษาในปัจจุบันมี 4 ชนิด ได้แก่ 1) Midazolam สามารถคุมอาการชักได้อย่างรวดเร็ว แต่มักเกิดการดื้อยาได้ง่าย ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการชักซ้ำได้ 2) thiopental สามารถคุมอาการชักได้ดี การให้ยาอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ได้ยาวนานขึ้นอันเนื่องมาจากการสะสมยาในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสติจากยาได้ช้า 3) propofol เป็นยาที่มีลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์ที่ดี แต่ต้องระมัดระวังการให้ยาอย่างยาวนาน รวมทั้งขนาดของยาต้องเหมาะสม เนื่องจากยาอาจทำให้เกิด propofol related infusion syndrome ที่เป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ ยาทั้ง 3 ชนิดมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ GABA จึงมักพบอาการข้างเคียงด้านการกดระบบหมุนเวียนโลหิต โดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตต่ำและการกดการหายใจ ซึ่งแตกต่างจาก 4) ketamine ที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ GABA จึงไม่มีฤทธิ์กดระบบหมุนเวียนโลหิต แต่การใช้ยาในระยะยาวอาจทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาท เภสัชกรผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการรักษาด้านยา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ขะต้องทราบถึงข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ ขนาดยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ อาการไม่พึงประสงค์จากยา รวมถึงการติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถใช้ยาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
คำสำคัญ
Refractory status epilepticus, midazolam, thiopental, propofol, ketamine