บทความวิชาการ
ถุงยางอนามัย ถุงอนามัยสตรีและสารหล่อลื่น (male condom, female condom and lubricants)
ชื่อบทความ ถุงยางอนามัย ถุงอนามัยสตรีและสารหล่อลื่น (male condom, female condom and lubricants)
ผู้เขียนบทความ อ.ดร.ภก.ดนุช ปัญจพรผล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-1-000-001-04-2565
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 เม.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 31 มี.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
สุขภาวะทางเพศและการคุมกำเนิดของประชาชนเป็นสิ่งที่ได้รับตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่งจากสังคมไทยในปัจจุบัน จากแนวคิดโปรแกรมถุงยางอนามัย (comprehensive condom programming) ก่อให้เกิดยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2562 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยหรือถุงอนามัยสตรี รวมถึงสารหล่อลื่นให้เป็นวิถีชีวิตปกติ ลดปัญหาการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ และความเสี่ยงจากโรคมะเร็งที่สามารถแพร่ผ่านจากการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานตามนโยบายยังไม่เต็มประสิทธิภาพสืบเนื่องจากหลายเหตุปัจจัย ในปีพ.ศ. 2561 ตลาดถุงยางอนามัยในประเทศไทยมีมูลค่า 1,423 ล้านบาท ลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 0.6 สาเหตุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติและพฤติกรรมเรื่องการมีเพศสัมพันธ์โดยพบว่าอายุของเยาวชนที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกลดลง มีความเชื่อว่าเรื่องเพศที่ผิดและความประมาท รวมถึงการรณรงค์จากภาครัฐลดลง สิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้ปริมาณการใช้ถุงยางอนามัยในหมู่เยาวชนลดน้อยลง ทำให้สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่และปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในยุทธศาสตร์ด้านถุงยางอนามัย (พ.ศ.2563-2573) จึงมียุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงถุงยางอนามัย รวมถึงพัฒนาระบบบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพถุงยางอนามัย เป็นต้น โดยร้านยาเป็นหนึ่งในจุดบริการเป้าหมายที่สามารถส่งเสริม ให้ความรู้ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยให้กับประชาชนเพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาวได้
คำสำคัญ
การคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ถุงอนามัยสตรี สารหล่อลื่น