ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
หูดที่ฝ่าเท้า (Plantar warts)
ชื่อบทความ หูดที่ฝ่าเท้า (Plantar warts)
ผู้เขียนบทความ รศ.ภญ.ชบาไพร โพธิ์สุยะ ผศ.ดร.ภญ.ภูริดา เวียนทอง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-006-02-2565
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 15 ก.พ. 2565
วันที่หมดอายุ 14 ก.พ. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
หูดที่ฝ่าเท้า (Plantar warts) เป็นตุ่มนูนแข็งที่เกิดขึ้นที่ฝ่าเท้า เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) ติดต่อได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือสัมผัสผ่านพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในวัยรุ่น เด็ก หรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หูดมักคงอยู่เป็นเวลานาน อาจลุกลาม เพิ่มจำนวน ขยายขนาด แพร่เชื้อไปบริเวณอื่นของร่างกายหรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ การรักษาหูดมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากหูด กำจัดตุ่มหูด ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และป้องกันการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น แนวทางการรักษาหูด มีทั้งการปล่อยให้หายเอง non-pharmacotherapy การใช้ยา salicylic acid การใช้ความเย็น (Cryotherapy) การเลเซอร์ เป็นต้น การรักษาหูดที่ฝ่าเท้าพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงของโรค ขนาดและจำนวนหูด ความเจ็บปวด อายุ ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ค่าใช้จ่ายในการรักษา อาการไม่พึงประสงค์ ฯลฯ เภสัชกรชุมชนมีบทบาทในการประเมินอาการ ให้คำแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับ สาเหตุ การดำเนินของโรค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการรักษาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ กรณีจ่ายยา salicylic acid ควรแนะนำวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง ระมัดระวังและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์เมื่อจำเป็น
คำสำคัญ
หูด, หูดที่ฝ่าเท้า, Wart, Plantar wart, human papilloma virus, HPV