ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
บทบาทของยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ในการรักษา Erectile dysfunction (ED) และ Benign prostatic hyperplasia (BPH) (Mobile 1)
ชื่อบทความ บทบาทของยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ในการรักษา Erectile dysfunction (ED) และ Benign prostatic hyperplasia (BPH) (Mobile 1)
ผู้เขียนบทความ ภก.บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข ภบ. (บริบาลเภสัชกรรม), ภม. (การจัดการเภสัชกรรม)
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-002-01-2565
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ม.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 26 ม.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.25 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ ภาวะองคชาตไม่แข็งตัว (Erectile dysfunction) คือ ภาวะผิดปกติขององคชาตที่แข็งตัวไม่เพียงพอในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจทางเพศและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และโรคต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia) คือ อาการเนื้องอกหรือมีขนาดใหญ่ผิดปกติของต่อมลูกหมาก พบได้บ่อยในชายสูงวัย ผู้ป่วยอาจมีปัจจัยเสี่ยงจากโรคประจำตัวของผู้ป่วยเอง หรือบางรายอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาบางชนิด และการรักษาผู้ป่วยนั้นมีทั้งรักษาด้วยยาและไม่ใช้ยา โดยการใช้ยาสำหรับรักษาภาวะองคชาตไม่แข็งตัว ตามแนวทางการรักษาในปัจจุบันมียากลุ่ม PDE-5 inhibitors ซึ่งประกอบด้วย sildenafil, vardenafil, tadalafil และ avanafil โดยมีกลไกกระตุ้นการการเกิด cyclic guanosine monophosphate (cGMP) ที่เป็น 2nd messenger ของ nitric oxide (NO) ที่พบได้ทั่วไปตามกล้ามเนื้อหลอดเลือด หลอดเลือดในเนื้อเยื่อปอด หลอดเลือดในกล้ามเนื้อลาย ส่งผลสำคัญต่อการขยายตัวของหลอดเลือดและอวัยวะเพศ จากผลการศึกษาทางคลินิกพบว่าในการรักษาภาวะองคชาตไม่แข็งตัว ยาแต่ละตัวในกลุ่ม PDE-inhibitors นั้นให้ผลที่ไม่แตกต่างกันในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะองคชาตไม่แข็งตัว ส่วนโรคต่อมลูกหมากโต มีเพียง tadalafil เท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตไม่ว่าผู้ป่วยจะมีภาวะองคชาตแข็งตัวร่วมด้วยหรือไม่ก็ตามประกอบด้วยคุณสมบัติทางด้าน pharmacokinetic ที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นครึ่งชีวิตที่นานที่สุดในกลุ่มประมาณ 17.5 ชั่วโมง อาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมของตัวยา ส่วนตัวอื่นๆในกลุ่ม อาหารอาจมีผลต่อการดูดซึม ซึ่งอาจจำเป็นต้องทานหลังอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง แม้ว่ารายการอื่น ๆ จะมีการศึกษาด้านประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน ในด้านความปลอดภัยของยาในกลุ่ม PDE-5 inhibitors นับว่าเป็นยาที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ่ม PDE-5 inhibitors ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกวิธีและคำปรึกษาที่เหมาะสมจากแพทย์ เภสัชกร หรือบุคลากรทางแพทย์ ในการดูแลและรักษาภาวะองคชาตไม่แข็งตัวและโรคต่อมลูกหมากโต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงจากการใช้ยา
คำสำคัญ
ยายับยั้งเอนไซม์พีดีอี-5, ภาวะองคชาตไม่แข็งตัว, โรคต่อมลูกหมากโต