ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การเฝ้าระวังผลการรักษาทางคลินิกหลังปรับการใช้ยากดภูมิในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ และ บทบาทของเภสัชกรในการจัดซื้อกลุ่มยากดภูมิคุ้มกันที่มีดัชนีการรักษาแคบสำหรับผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ
ชื่อบทความ การเฝ้าระวังผลการรักษาทางคลินิกหลังปรับการใช้ยากดภูมิในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ และ บทบาทของเภสัชกรในการจัดซื้อกลุ่มยากดภูมิคุ้มกันที่มีดัชนีการรักษาแคบสำหรับผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ
ผู้เขียนบทความ รศ.นพ.ขจรศักดิ์นพคุณ ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2005-1-000-006-12-2564
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 04 ธ.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 03 ธ.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อุบัติการณ์ในการปลูกถ่ายไตในประเทศไทย จากสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไตต่อปี ประมาณ 700 คนโดยส่วนมากผู้ป่วยจะได้รับอวัยวะจากผู้เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย (Deceased donor) มีเพียงส่วนน้อยที่จะรับการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่มีชีวิตอยู่ (living donor) ซึ่งการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่มีชีวิต มีแนวโน้มที่ลดลงในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการปลูกถ่ายอวัยวะต่อจำนวนประชากร พบว่าประเทศไทยมีอัตราการปลูกถ่ายไตอยู่ที่ 10.1 คนต่อประชากร 1 ล้านคน และมีอัตราการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยที่มีการล้างไต (renal dialysis) อยู่ที่ 5 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ซึ่งมีอัตราการปลูกถ่ายไตน้อยกว่าประเทศใกล้เคียง เช่น ฮ่องกงหรือญี่ปุ่นแต่จะพบว่าประเทศไทยมีอัตราการล้างไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายอยู่ที่ 1,885 คนต่อประชากร 1 ล้านคนเป็นอันดับ 3 ของโลก แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ในประเทศ เข้าถึงการรักษาด้วยการล้างไตผ่านทางหลอดเลือดหรือผ่านทางหน้าท้อง แต่ยังเข้าไม่ถึงการรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด การใช้ยากดภูมิคุ้มกันมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ร่างกายของผู้รับบริจาคอวัยวะยอมรับอวัยวะที่ปลูกถ่าย (graft) นั้นไว้ในร่างกาย โดยมีเป้าหมายที่คาดหวังสูงสุดคือ graft อยู่ในร่างกายของผู้รับบริจาคอวัยวะได้อย่างถาวรในสภาวะ “tolerance” ซึ่งหมายถึงสภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับบริจาคอวัยวะจะไม่ต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายเสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายตนเอง อุปสรรคสำคัญของการปลูกถ่ายอวัยวะคือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันของ recipient ปฏิเสธอวัยวะที่ปลูกถ่าย (host versus graft rejection) ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบและทำลายอวัยวะนั้น ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ หากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นรุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจสูญเสียอวัยวะหรืออาจเป็นอันตรายรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ โดยทั่วไปผู้รับบริจาคอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันปฏิกิริยาปฎิเสธอวัยวะ (prevent organ rejection), ยืดอายุขัยของผู้ป่วย (prolong patient survival), ยืดระยะเวลาอยู่รอดของอวัยวะที่ปลูกถ่าย (prolong graft survival), และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (improve quality of life) มีการปรับยาเป็นระยะตามความเหมาะสมซึ่ง เภสัชกรโรงพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการรักษามาตรฐานและเพิ่มการเข้าถึงยาให้แก่ประชาชน เภสัชกรผู้รับผิดชอบจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยและถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือก และจัดซื้อยา ตามพรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 เพื่อมาตรฐานอันดีในการคัดสรรผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีคุณภาพประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะยากดภูมิคุ้มกันที่ใช้กับผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะที่มีดัชนีการรักษาแคบจึงควรต้องมีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่นกรณีศึกษาวิธีการจัดซื้อเฉพาะเจาะจง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 และหลักการจัดซื้อยาที่ดี พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดซื้อยาด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อประโยชน์สูงสุดและการรักษามาตรฐานที่ดีในการให้บริบาลเภสัชกรรม และการเพิ่มการเข้าถึงยาที่ดีมีคุณภาพให้กับผู้ป่วย
คำสำคัญ
Allograft rejection, immunosuppressive agent , Tacrolimus, การคัดเลือกยา