บทคัดย่อ
ผู้ป่วยสูงอายุมักมีโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งต้องได้รับยาหลายชนิดและการใช้ยามีความซับซ้อนมากกว่าผู้ป่วยกลุ่ม
อื่นๆ ดังนั้นเภสัชกรจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุโดยเริ่มจากการสูงวัยที่มีทฤษฎี
หลายอย่างที่ช่วยอธิบายแต่ทฤษฎี deregulated nutrient sensing ได้รับความสนใจมากเพราะสามารถอธิบายการมี
อายุยืนและยาชะลอความแก่ได้ ผู้สูงอายุอาจจัดได้เป็น 4 กลุ่มคือผู้สูงอายุวัยต้น วัย กลาง วัยปลายและช่วงร้อยปี
ผู้ป่วยสูงอายุมีคุณลักษณะ 6 ประการเหมือนผู้ป่วยกลุ่มอื่นแต่มีรายละเอียดมากกว่าคือ ยึดถือคุณค่า ศักดิ์ศรี คำนึงถึง
ผลกระทบของความเจ็บป่วย ความต้องการ ความคาดหวังและสิทธิผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้สูงอายุ
อาจมีผลกระทบต่อกิจวัตรประจาวันหรือทาให้เกิดโรคได้ แต่ที่สาคัญคือมีผลต่อเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์
โรคของผู้ป่วยสูงอายุมีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า NAMES และโรคที่พบบ่อยหลายชนิดเป็นโรคที่เกิดได้เฉพาะในเพศชาย
หรือหญิง การใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุโดยเฉพาะการสั่งใช้ยาควรจะยึดหลัก Low-Min-Simple-Few การที่ผู้ป่วยใช้ยา
ตั้งแต่ 5 รายการ (polypharmacy) ยาที่ไม่เหมาะสมหรือมีความเสี่ยงสูงและปัจจัยอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาการใช้
ยาที่สาคัญเช่น ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา ต้องได้รับยารักษาเพิ่มเติมและมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ยาที่มี
ความเสี่ยงสูงหรือมีแนวโน้มไม่เหมาะสมมีอยู่จำนวนมากซึ่งต้องใช้หลักเกณฑ์หรือเครื่องมือมาช่วยประเมิน เช่น AGS
Beers Criteria และ STOPP/START Criteria แต่ AGS Beers Criteria ได้รับการยอมรับมากกว่า การลดการสั่งใช้ยา
เป็นแนวโน้มทั่วโลกที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการการใช้ยาหลายขนานและเพิ่มผลลัพธ์ทางสุขภาพทั้งทางด้านการรักษา
และคุณภาพชีวิต เภสัชกรควรร่วมมือกับทีมดูแลผู้ป่วยสูงอายุเพื่อให้การบริบาลผู้ป่วยเกิดประสิทธิผลสูงสุดในสังคม
ผู้สูงอายุเต็มรูปแบบนี้