บทความวิชาการ
แนวทางการรักษาโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
ชื่อบทความ แนวทางการรักษาโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
ผู้เขียนบทความ นศภ.กมลชนก ภูมิชัยสุวรรณ์, นศภ.ทัศนีย์ ชาวนาฟาง, รศ.ดร.ภญ. วริสรา ปาริชาติกานนท์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-018-11-2564
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 04 พ.ย. 2564
วันที่หมดอายุ 03 พ.ย. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก คือ โรคเบาหวานที่พบก่อนการตั้งครรภ์ (pre-gestational diabetes) และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes) แนวทางการรักษาโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ จากสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association; ADA) ฉบับปรับปรุงปี ค.ศ. 2021 และแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560 แนะนำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามเป้าหมายการรักษา แต่ในรายที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้จากการปรับพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว อาจมีการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดร่วมด้วย โดยแนะนำให้ใช้ยาฉีดอินซูลินเป็นลำดับแรก ทั้งในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบก่อนการตั้งครรภ์และผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน (oral antidiabetic drugs) สามารถผ่านเข้ารกและอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อเด็กทารกได้มากกว่าการใช้ยาฉีดอินซูลิน อย่างไรก็ตามอาจพิจารณาใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน ได้แก่ metformin และ glibenclamide (กลุ่ม sulfonylureas) ร่วมกับยาฉีดอินซูลินในกรณีที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์รายที่ยาฉีดอินซูลินขนาดยาสูงเพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำให้ใช้ aspirin ขนาด 100-162 มิลลิกรัมต่อวัน ภายใน 6 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เป็นประจำหลังคลอดบุตรแล้ว โดยครั้งแรกต้องติดตามหลังจากคลอดบุตรในสัปดาห์ที่ 4-12 และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
คำสำคัญ
โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์, แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน, ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด, อินซูลิน
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe