ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ในทางเภสัชกรรม
ชื่อบทความ การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ในทางเภสัชกรรม
ผู้เขียนบทความ อาจารย์ ดร.ภก.ธราพงษ์ ศรีสงคราม
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-002-10-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 11 ต.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 10 ต.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันยาใหม่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกว่าหนึ่งในสามเป็นยาที่ผลิตจากชีววัตถุที่อาศัยพื้นฐานในการผลิตจากเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ ประกอบกับในสถานการณ์ดังปัจจุบันที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ดังนั้นความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์จึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเภสัชกรที่เป็นวิชาชีพที่ต้องทำงานกับยา ในบทความนี้จะอธิบายถึงหลักการและความสำคัญของเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ รวมไปถึงชนิดของการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ ซึ่งประกอบไปด้วย 1) การเพาะเลี้ยงทั้งอวัยวะ 2) การเพาะเลี้ยงเซลล์ปฐมภูมิ 3) การเพาะเลี้ยงเซลล์ไลน์ และ 4) การเพาะเลี้ยงอวัยวะเทียม นอกจากนั้นในบทความนี้ยังระบุถึงการนำเทคนิคเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ไปประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรม เช่น 1) การนำไปผลิตยาที่เป็นชีววัตถุ เช่น โมโนคลอนอลแอนติบอดี โปรตีนลูกผสม 2) ผลิตวัคซีนชนิดอ่อนฤทธิ์ วัคซีนชนิดเชื้อตาย หรือ วัคซีนชนิดชิ้นส่วนโปรตีน 3) การนำไปเป็นแบบจำลองโรคเพื่อศึกษาฤทธิ์ของยา และ 4) การนำไปเพาะเลี้ยงเซลล์สำหรับการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด รักษาด้วยยีน และรักษาแบบแม่นยำทางการแพทย์
คำสำคัญ
การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์, เซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไลน์, เซลล์สามมิติ, อวัยวะเทียม