บทความวิชาการ
RNA Interference (RNAi) กับการรักษาโรค COVID-19: กลไกของ RNAi และการยับยั้งไวรัส SARS-CoV-2 ด้วย siRNA
ชื่อบทความ RNA Interference (RNAi) กับการรักษาโรค COVID-19: กลไกของ RNAi และการยับยั้งไวรัส SARS-CoV-2 ด้วย siRNA
ผู้เขียนบทความ อาจารย์ ดร.ภก.กษิรวรรษ แสวงรัตน์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-016-09-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 22 ก.ย. 2564
วันที่หมดอายุ 21 ก.ย. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ SARS-CoV2 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกและสร้างผลกระทบทั้งกับชีวิตและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอการใช้เทคโนโลยี RNA interference เพื่อเป็นยาต้านไวรัส SARS-CoV2 โดย siRNA (small interfering RNA) ถูกออกแบบโดยการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลชีวสารสนเทศ (bioinformatics) ของไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ต่างๆ ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบันเพื่อหาตำแหน่งบน viral genome โดยเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวนของไวรัส ซึ่งได้แก่ส่วน 5’-untranslated region (5' -UTR) และ เอนไซม์ helicase และส่วนลำดับสงวน (sequence conservative) จากนั้นนำรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งเหล่านั้นมาใช้ออกแบบลำดับเบสของ siRNA ผลคือได้ siRNA ที่มีความสามารถในการทำลายไวรัส SARS-CoV2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้กับไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทุกสายพันธุ์ และเมื่อนำ siRNA ที่ได้ไปบรรจุในระบบนำส่งยาแบบอนุภาคนาโนไขมัน (lipid nanoparticle) ที่ถูกปรับแต่งให้สามารถนำส่งยาไปยังปอด (lung targeting) แล้ว จากการศึกษาพบว่า siRNA ดังกล่าวสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิต ลดจำนวนอนุภาคไวรัสในปอด รวมถึงลดอาการแสดงออกของโรคในสัตว์ทดลองได้ นอกจากนั้นยังพบว่า siRNA ที่ได้นั้นมีความปลอดภัย ไม่พบความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ทดลองหลังได้รับยา จึงทำให้เทคโนโลยี siRNA นี้สามารถนำไปศึกษาต่อในมนุษย์เพื่อพัฒนาเป็นยาต้านไวรัส SARS-CoV2 ที่มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ
SARS-CoV2, Covid-19, small-interfering RNA (siRNA), lipid nanoparticle