ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
หลักการใช้ยารักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ชื่อบทความ หลักการใช้ยารักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ผู้เขียนบทความ อัญมณี ลาภมาก,กิตติ์รวี กฤษฏิ์เมธาภาคย์
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-1-000-005-09-2564
ผู้ผลิตบทความ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 ก.ย. 2564
วันที่หมดอายุ 29 ก.ย. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การควบคุมความดันโลหิตโดยการรักษาแบบไม่ใช้ยามีหลายวิธี ได้แก่ การจำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร การลดน้ำหนัก และการงดสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่ต้องได้รับยาเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และลดการเกิดภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิตที่ควรเลือกใช้เป็นลำดับแรกคือ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ หรือ แองจิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ เนื่องจากช่วยลดการเกิดโรคหัวโจและหลอดเลือดและชะลอการเสื่อมของไตได้ ยาลดความดันโลหิตที่ควรเลือกใช้เป็นลำดับที่สองคือ แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ หรือยาขับปัสสาวะ โดยนิยมใช้ยาขับปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกินร่วมด้วย ส่วนยากลุ่มแอลฟา-1 บล็อกเกอร์, แอลฟา-2 อะโกนิสต์ และยาขยายหลอดเลือดควรเลือกใช้เป็นลำดับหลังโดยเฉพาะในกรณีที่ยังควบคุมความดันโลหิต ไม่ได้ตามเป้าหมาย บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ กลไกการออกฤทธิ์ และผลข้างเคียงของ ยาลดความดันโลหิตที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
คำสำคัญ