บทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดหัวใจเรื้อรัง (chronic coronary syndrome; CCS) หมายถึง ภาวะที่มีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดง หรือมีเพียงอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็นครั้งคราว ในที่นี้รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการคงที่แล้วหลังจากการรักษาภาวะ acute coronary syndrome (ACS) ซึ่งการดูแลหลังจากการได้รับการวินิจฉัยแล้วประกอบด้วย การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การใช้ยา และการทำหัตถการสวนหลอดเลือดหัวใจหากมีความจำเป็น
การใช้ยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเรื้อรังสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์หลักได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกคือยาที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ยาต้านเกล็ดเลือด ยาลดไขมันในเลือด และยากลุ่ม Renin-Angiotensin-Aldosterone system blockers กลุ่มที่สองคือยาที่ใช้เพื่อลดอาการเจ็บแน่นหน้าอกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย ได้แก่ Beta-blocker, calcium channel blockers (CCBs), Ivabradine, Ranolazine, Trimetazidine และ Nicorandil ซึ่งการเลือกใช้ยาจะขึ้นกับความเหมาะสมกับลักษณะอาการ โรคร่วม ความสะดวกในการใช้ยา ความพึงพอใจ อาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องหลีกเลี่ยง และความสามารถในการเข้าถึงยาของผู้ป่วย โดยการเริ่มใช้ยาอาจเริ่มที่ 1-2 รายการ จากนั้นจึงทำการประเมินผลที่ 2-4 สัปดาห์หลังจากเริ่มยา เพื่อพิจารณาปรับขนาดหรือชนิดของยาตามประสิทธิภาพในการควบคุมอาการ และความทนต่อยาของผู้ป่วย
คำสำคัญ
Anti-ischemic therapy, chronic coronary syndrome, ยาป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคหลอดเลือดหัวใ