ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การใช้ยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ: ความแปรปรวนภายในบุคคลทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาทาโครลิมัสและการเปลี่ยนเภสัชภัณฑ์
ชื่อบทความ การใช้ยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ: ความแปรปรวนภายในบุคคลทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาทาโครลิมัสและการเปลี่ยนเภสัชภัณฑ์
ผู้เขียนบทความ ศ.ภญ.ดร.สมฤทัย วัชราวิวัฒน์
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2005-1-000-004-09-2564
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 09 ก.ย. 2564
วันที่หมดอายุ 08 ก.ย. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การปลูกถ่ายอวัยวะ (solid organ transplantation, SOT) เป็นกระบวนการนำอวัยวะจากผู้บริจาค (donor) มาใส่ให้กับผู้รับบริจาค (recipient) โดยมุ่งหมายให้อวัยวะใหม่ทำหน้าที่ทดแทนการทำงานของอวัยวะเดิมได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กระบวนการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะเริ่มต้นตั้งแต่การเตรียมความพร้อมทั้งผู้บริจาคและผู้รับบริจาคและตรวจประเมินก่อนการผ่าตัดโดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมทีมงาน ภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการดูแลเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ความสำเร็จของการปลูกถ่ายอวัยวะเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ร่วมกับความรู้ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย การใช้ยากดภูมิคุ้มกันมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ร่างกายของผู้รับบริจาคอวัยวะยอมรับอวัยวะที่ปลูกถ่าย (graft) นั้นไว้ในร่างกาย โดยมีเป้าหมายที่คาดหวังสูงสุดคือ graft อยู่ในร่างกายของผู้รับบริจาคอวัยวะได้อย่างถาวรในสภาวะ “tolerance” ซึ่งหมายถึงสภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับบริจาคอวัยวะจะไม่ต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายเสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายตนเอง โดยทั่วไปผู้รับบริจาคอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันปฏิกิริยาปฎิเสธอวัยวะ (prevent organ rejection), ยืดอายุขัยของผู้ป่วย (prolong patient survival), ยืดระยะเวลาอยู่รอดของอวัยวะที่ปลูกถ่าย (prolong graft survival), และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (improve quality of life) มีการปรับยาเป็นระยะตามความเหมาะสม โดยมีเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่คาดหวังในการใช้ยากดภูมิคุ้มกันในทางคลินิกคือ ลดอุบัติการณ์ของการเกิดปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะ (acute rejection และ chronic rejection) ลดโอกาสในการเกิดพิษ/อาการไม่พึงประสงค์จากยา และลดโอกาสในการติดเชื้อและการเกิดมะเร็ง รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยพยายามรักษาการทำงาน ตลอดจนโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยและอัตรารอดของอวัยวะที่ปลูกถ่ายไว้ให้สูงที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วย KT ไม่ต้องกลับไปฟอกเลือดเพื่อบำบัดทดแทนไตอีก ไตที่ปลูกถ่าย (kidney graft) ทำหน้าที่ได้ดีเป็นระยะเวลานานใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
คำสำคัญ
solid organ transplantation, Graft, immunosuppressive agent, tacrolimus