ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การพัฒนาแบบสอบถามให้มีความตรงเชิงเนื้อหา
ชื่อบทความ การพัฒนาแบบสอบถามให้มีความตรงเชิงเนื้อหา
ผู้เขียนบทความ ดร.ภก. สุวภาพ เตชะมหามณีรัตน์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-1-000-004-08-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 23 ส.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 22 ส.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์งานวิจัย, กรอบแนวคิด, สมมติฐานและตัวแปรประเภทต่าง ๆ ในงานวิจัย การพัฒนาแบบสอบถามเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้ง่าย, สะดวก, มีอัตราการตอบกลับสูง และได้รับข้อมูลจากแบบสอบถามที่สมบูรณ์มากที่สุด โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ คือ วิธีการส่งแบบสอบถาม, ภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม, ลักษณะข้อคำถาม, โครงสร้างของข้อคำถาม โครงสร้างและรูปแบบของแบบสอบถาม นอกจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ คุณสมบัติของแบบสอบถามให้มีความตรงและความเที่ยงในการวัดและเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญ ความตรงเชิงเนื้อหาเป็นการตรวจสอบความตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย และเป็นขั้นตอนแรกของการทดสอบแบบสอบถาม โดยแบ่งเป็นการทดสอบรายข้อซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามทั้งฉบับ คือ การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ, การสนทนากลุ่ม และ การสัมภาษณ์กระบวนการคิด ซึ่งมีเทคนิคการสัมภาษณ์ 3 เทคนิค ประกอบด้วย เทคนิคการถามแบบ think-aloud, การใช้ meta-questions และการ probing ก่อนที่จะนำไปทดสอบคุณสมบัติอื่น ๆ ด้านความตรงและความเที่ยงของแบบสอบถาม
คำสำคัญ
แบบสอบถาม การพัฒนาแบบสอบถาม ความตรงเชิงเนื้อหา