ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
แนวทางการเลือกใช้สารปรุงแต่งและกระสายยาในตำรับยาน้ำแขวนตะกอน
ชื่อบทความ แนวทางการเลือกใช้สารปรุงแต่งและกระสายยาในตำรับยาน้ำแขวนตะกอน
ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ดร. อรสร สารพันโชติวิทยา, ปร.ด. ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-1-000-002-08-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 16 ส.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 15 ส.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาเตรียมรูปแบบของเหลว ได้แก่ ยาน้ำใส หรือยาน้ำแขวนตะกอน เป็นตำรับที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่กลืนยาเม็ดหรือแคปซูลได้ลำบาก เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องใช้สายยางผ่านหลอดอาหารเพื่อบริหารยา ตำรับยาน้ำแขวนตะกอนประกอบด้วยตัวยาสำคัญ และสารปรุงแต่งหลายชนิดอยู่รวมกัน การเตรียมตำรับอาจเตรียมขึ้นตามเภสัชตำรับหรือแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ หรือตั้งตำรับโดยพิจารณาคุณสมบัติของตัวยาสำคัญ และสารปรุงแต่งแต่ละชนิด ตลอดจนความเข้ากันได้ของสารในตำรับเพื่อให้ได้ตำรับที่มีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับได้ และมีความคงตัวดีทั้งในด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ นอกจากนี้ยาน้ำแขวนตะกอนยังเป็นรูปแบบที่พบได้มากในการเตรียมยาเตรียมพิเศษเฉพาะราย (Extemporaneous preparations) ซึ่งเตรียมขึ้นเป็นพิเศษเพื่อผู้ป่วยเฉพาะราย เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้ โดยผสมยาเข้ากับกระสายยาสำเร็จรูปหรือกระสายยาที่เภสัชกรปรุงขึ้นตามความเหมาะสมกับคุณสมบัติของยานั้น สารปรุงแต่งบางชนิดมีความไม่เข้ากับสารอื่นในตำรับรวมทั้งตัวยาสำคัญทำให้ตำรับเกิดความไม่คงตัวทางกายภาพ หรืออาจมีผลให้ยาและสารปรุงแต่งอื่น เช่น สารกันเสียมีประสิทธิภาพลดลง สารปรุงแต่งบางชนิดมีความไม่เข้ากับภาชนะบรรจุ หรือไม่คงตัวในบางช่วง pH จึงไม่เหมาะการเลือกใช้กับตำรับที่ต้องจำกัดค่าความเป็นกรดด่างเพื่อความคงตัวหรือการละลายของตัวยาสำคัญ ณ ค่า pH นั้น นอกจากนี้ยังมีสารปรุงแต่งบางชนิดที่มีผลข้างเคียง เช่น ทำให้เกิดอาการท้องเสียหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติตลอดจนตระหนักถึงข้อควรระวังของการใช้สารปรุงแต่งแต่ละชนิด จะช่วยให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้สารปรุงแต่งยาและกระสายยาได้อย่างเหมาะสม ได้ตำรับยาที่มีคุณภาพดี และสนับสนุนแผนการรักษาของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
แนวทางการเลือกใช้สารปรุงแต่งและกระสายยาในตำรับยาน้ำแขวนตะกอน