บทความวิชาการ
บทบาทของวิตามินอีในโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไขมันพอกตับ
ชื่อบทความ บทบาทของวิตามินอีในโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไขมันพอกตับ
ผู้เขียนบทความ ชญานี อิสรไกรศีล, ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมชุมชน), ทิพยวรรณ ตุ้มประชา, ภ.บ.
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-1-000-005-08-2564
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ส.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 31 ก.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วิตามินอีมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมต่างๆ ด้วยการป้องกันการเกิดออกซิเดชัน ของไขมัน (lipid peroxidation) เพื่อป้องกันไม่ให้สารอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อภายในร่างกาย รูปแบบของ วิตามินอีที่ออกฤทธิ์ได้ดีและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดคือ α-tocopherol การใช้วิตามินอีในโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) ที่มีพยาธิสภาพจากการเกิดออกซิเดชันของไลโพโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein; LDL) จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่ายังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอให้ใช้วิตามินอีเพื่อป้องกันโรคหัวใจและ หลอดเลือด ส่วนในโรคไขมันพอกตับ (fatty liver disease) ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (nonalcoholic fatty liver disease; NAFLD) ซึ่งมีภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ทำให้เกิดการดำเนินของโรค จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าวิตามิน อีไม่มีผลต่อความแตกต่างของระดับเอนไซม์ในตับ (alanine aminotransferase; ALT และ aspartate aminotransferase; AST) และพยาธิสภาพของตับในเด็กอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในผู้ใหญ่พบว่าวิตามินอีสามารถลดระดับเอนไซม์ในตับและทำให้ พยาธิสภาพของตับดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม คำแนะนำในการใช้วิตามินอีในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นการพิจารณาใช้วิตามินอีในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ จึงควรพิจารณาถึงประโยชน์และความ เสี่ยงต่อผู้ป่วยร่วมด้วย
คำสำคัญ
คำสำคัญ: วิตามินอี, α-tocopherol, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไขมันพอกตับ