ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
Poly (ADP-ribose) polymerase (PARP) inhibitors for cancer therapy
ชื่อบทความ Poly (ADP-ribose) polymerase (PARP) inhibitors for cancer therapy
ผู้เขียนบทความ อ.ดร.ภก.กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-010-06-2564
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 11 มิ.ย. 2564
วันที่หมดอายุ 10 มิ.ย. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Poly(ADP-ribose) polymerases (PARPs) มีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซม DNA โดย PARP ทำหน้าที่ตรวจจับและเริ่มกระบวนการซ่อมแซมสาย DNA ที่มีการแตกหัก ในปัจจุบัน PARP inhibitors ที่ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (U.S. FDA) คือ olaparib, rucaparib, niraparib และ talazoparib การยับยั้งการทำงานของ PARPs จะทำให้เกิดความไม่เสถียรของจีโนม (genomic instability) ส่งผลทำให้เกิดการเหนี่ยวนำการตายของเซลล์ในที่สุด ซึ่งผลดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนในเซลล์ที่มีความบกพร่องในกระบวนการซ่อมแซม DNA แบบ homologous recombinant repair (homologous recombinant deficiency, HRD) เช่น การที่มียีน BRCA1 และ BRCA2 ผิดปกติ นอกจากนี้การใช้ PARP inhibitors ในการรักษาโรคมะเร็งยังสามารถเพิ่มความไวต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัด (chemotherapy) หรือการรักษาด้วยรังสี (radiation therapy) อีกด้วย ในบทความนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของการยับยั้ง PARPs ในการรักษาโรคมะเร็ง, กลไกการออกฤทธิ์ของ PARP inhibitors และ ประสิทธิภาพของการใช้ PARP inhibitors ในทางคลินิก
คำสำคัญ
Poly (ADP-ribose) polymerase, DNA damage, BRCA, homologous recombinant repair, synthetic lethality
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe