ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ Hypersensitivity reactions to Non-Steroidal Antiinflammatory Drugs (NSAIDs)
ชื่อบทความ การแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ Hypersensitivity reactions to Non-Steroidal Antiinflammatory Drugs (NSAIDs)
ผู้เขียนบทความ อาจารย์ ดร. ภญ. นทพร ชัยพิชิต
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-001-05-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 พ.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 04 พ.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs: NSAIDs) สามารถออกฤทธิ์ในการต้านอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวดกล้ามเนื้อและข้อ จึงมีการนำมาใช้เพื่อรักษาโรคในทางเวชปฏิบัติที่หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ เกาต์ และข้ออักเสบ เป็นต้น ยากลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญคือ แผลในกระเพาะอาหารและโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นอาการที่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา นอกจากนี้ยาอาจทำให้เกิดการแพ้ยา (hypersensitivity reactions) ซึ่งมีกลไกการเกิดที่อาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย แต่ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงเฉียบพลันที่คล้ายกันได้ เช่น ผื่นลมพิษ (urticaria) อาการบวมบริเวณเยื่อบุตา และ/หรือ ริมฝีปาก (angioedema) รวมถึงอาการแพ้ยาที่รุนแรง (anaphylaxis) ได้ เนื่องจากยากลุ่ม NSAIDs เป็นยาที่พบการใช้บ่อยทั้งในร้านยาและโรงพยาบาล ดังนั้นเภสัชกรจึงควรมีความรู้และเข้าใจในการแพ้ยา NSAIDs ซึ่งอาการแพ้เฉียบพลันอาจเป็นการแพ้ยาจริง (true allergy) หรือการแพ้ยาเทียมหรือแพ้ข้ามกลุ่มได้ (pseudoallergy หรือ cross-reactivity) รวมถึงการประเมินและดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยทางยาแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการ บทความนี้จึงรวบรวมเนื้อหาสำคัญของการแพ้ยา NSAIDs อันประกอบด้วย กลไกการออกฤทธิ์ของยา NSAIDs กลไกการแพ้ยา การประเมินและแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยการแพ้ยา NSAIDs
คำสำคัญ
การแพ้ยา, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, กลไกการแพ้ยา, การประเมิน, การจัดการ