ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568

บทความวิชาการ
ประเภทยาและข้อกำหนดของกฎหมายยา และวิชาชีพเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้อง
ชื่อบทความ ประเภทยาและข้อกำหนดของกฎหมายยา และวิชาชีพเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้อง
ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-1-000-001-02-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 25 ก.พ. 2564
วันที่หมดอายุ 24 ก.พ. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม แบ่งยาเป็นประเภทต่างๆ ในหลายลักษณะ การแบ่งประเภทยาที่สำคัญจะแบ่งตามความเข้มงวดของการควบคุมจากมากไปน้อยคือ (1) ยาควบคุมพิเศษ (2) ยาอันตราย (3) ยาบรรจุเสร็จที่มิใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ และ (4) ยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งประเภทยาตามการควบคุมในกฎหมายยาจะมีความสัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องต่างๆ ได้แก่ (1) การขายยาและการส่งมอบยา (2) สถานที่รับอนุญาตและการจัดให้มีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ (3) การให้ข้อมูลและประเภทยาบนฉลากยา (4) การเก็บยาเป็นส่วนสัด (5) การจัดทำบัญชียาที่ซื้อและขาย และ (6) การโฆษณา ดังนั้น ผู้รับอนุญาต ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ และลูกจ้างในสถานที่รับอนุญาตขายยา จึงควรใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติตามกฎหมายยาอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงประเภทยาและความสัมพันธ์ของประเภทยากับการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ประเภทยายังมีความสัมพันธ์กับพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2538 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2561
คำสำคัญ
ประเภทยา ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย ยาสามัญประจำบ้าน