0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
The efficacy of imipramine in functional gastrointestinal disorders
ชื่อบทความ
The efficacy of imipramine in functional gastrointestinal disorders
ผู้เขียนบทความ
ภญ.ธาริณี เที่ยงสกุล, อ.ภญ.สิรนันท์ กลั่นบุศย์
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม
1008-1-000-004-12-2563
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
30 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ
29 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Imipramine เป็นยาในกลุ่ม Tricyclic antidepressants (TCAs) ออกฤทธิ์ยับยั้ง norepinephrine และ serotonin reuptake transporter ส่งผลเพิ่มระดับสารสื่อประสาท norepinephrine และ serotonin จึงมีฤทธิ์ในการลดปวดได้ ปัจจุบันได้มีคำแนะนำให้ใช้ยาในกลุ่ม TCAs เป็นยาสำหรับรักษาอาการปวดจากภาวะทางเดินอาหารทำหน้าที่ผิดปกติไร้โรคทางกายหรือ functional gastrointestinal disorders (FGIDs) ในทุกอาการย่อย โดยมีสมมติฐานว่ายากลุ่ม TCAs เป็น neuromodulatory agents ออกฤทธิ์บริเวณ brain-gut axis ส่งผลให้อาการปวดจาก FGIDs ดีขึ้นได้ จากหลักฐานทางวิชาการเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ Imipramine ในการรักษา FGIDs ยังพบไม่มากนัก การศึกษาในปี ค.ศ. 2009 พบว่า imipramine สามารถลดอาการปวดของภาวะ Irritable bowel syndrome (IBS) ได้อย่างมีนัยสำคัญในการวิเคราะห์แบบ per-protocol (p=0.037) ส่วนการศึกษาในปี ค.ศ. 2016 ในกลุ่มผู้ที่มีอาการ esophageal hypersensitivity และ functional heartburn พบว่ายาไม่มีประโยชน์ในการลดอาการกลุ่มนี้เมื่อเทียบกับ placebo (p=0.98 และ 0.72 เมื่อวิเคราะห์แบบ intention-to-treat และ per-protocol ตามลำดับ) และการศึกษาปี ค.ศ. 2018 พบว่า Imipramine สามารถลดอาการปวดในกลุ่ม functional dyspepsia ในสัปดาห์ที่ 12 ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.0051 และ 0.018 เมื่อวิเคราะห์แบบ intention-to-treat และ per-protocol ตามลำดับ) เมื่อเทียบกับ placebo ด้านอาการไม่พึงประสงค์ พบว่าอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยของ impramine ได้แก่ ท้องผูก ปากแห้ง และใจสั่น แม้จะไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง แต่อย่างไรก็ตามยังควรเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
คำสำคัญ
Imipramine, functional gastrointestinal disorders, tricyclic antidepressants