0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
การใช้ยา Frovatriptan สำหรับการรักษาไมเกรนช่วงมีประจำเดือน
ชื่อบทความ
การใช้ยา Frovatriptan สำหรับการรักษาไมเกรนช่วงมีประจำเดือน
ผู้เขียนบทความ
ภญ.ทิพกาญจน์ โมทนียชาติ, อ.ภญ.สิรนันท์ กลั่นบุศย์
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม
1008-1-000-002-12-2563
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
24 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ
23 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อาการปวดศีรษะไมเกรนแบบ Menstrual migraine (MM) เป็นอาการปวดศีรษะไมเกรนที่พบได้ตั้งแต่ก่อนมีประจำเดือนเพียงไม่กี่วันจนกระทั่งอยู่ในช่วงกำลังมีประจำเดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ลดลงอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระตุ้นการเกิด MM ได้ โดยยา frovatriptan เป็นยาในกลุ่ม triptans ที่มีการแนะนำให้ใช้สำหรับรักษา MM ได้ การศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมานพบว่า การให้ frovatriptan ทำให้อาการ MM หายได้ไม่แตกต่างจากยาอื่นในกลุ่ม triptans แต่ลดการกลับเป็นไมเกรนซ้ำในช่วง 24 และ 48 ชั่วโมงได้เหนือกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน (P<0.05) ตลอดจนการใช้ยา frovatriptan ขนาด 2.5 mg โดยให้วันละครั้งและวันละ 2 ครั้งสามารถป้องกันการเกิด MM ได้ดีกว่า placebo โดยการให้ frovatriptan วันละ 2 ครั้งมีผลในการป้องกันการเกิด MM ที่ดีกว่าการใช้ยาวันละครั้ง และเมื่อเปรียบเทียบการป้องกันการเกิด MM ในผู้ป่วยไมเกรนที่ได้รับยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมแบบต่อเนื่องนาน 168 วันและมีการหยุดยาคุมกำเนิดเพื่อให้มีช่วงที่ estrogen ลดลงอย่างรวดเร็ว แล้วให้ frovatriptan วันละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลา 5 วันเปรียบเทียบกับ placebo พบว่า frovatriptan ลดระดับความรุนแรงการเกิด MM ได้ดีกว่า placebo แต่หลังหยุด frovatriptan แล้วจะเกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมาใหม่ได้ นอกจากนี้การใช้ยาสูตรผสมระหว่าง frovatriptan และ dexketoprofen ยังสามารถรักษาอาการ MM แบบเฉียบพลันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสัดส่วนของผู้ป่วยที่หายปวดไมเกรนภายใน 2 ชั่วโมงมากกว่าการให้ frovatriptan อย่างเดียว (P<0.05) แต่ในด้านการป้องกัน MM ที่กลับเป็นซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงพบว่า การให้ยาแบบสูตรผสมนี้ให้ผลลัพธ์ไม่แตกต่างกับการให้ frovatriptan เพียงอย่างเดียว ดังนั้น frovatriptan จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับป้องกันการเกิด MM ในระยะสั้น ขนาดที่แนะนำคือ 2.5 mg วันละ 1-2 ครั้ง ในช่วง 2-3 วันก่อนมีประจำเดือน และรับประทานต่อเนื่องในช่วงที่มีประจำเดือนรวมเป็นเวลา 6 วัน ส่วนการใช้รักษา MM แบบเฉียบพลัน คือ ขนาด 2.5 mg รับประทานทุก 2 ชั่วโมง และขนาดยาสูงสุดต่อวันไม่เกิน 7.5 mg/day
คำสำคัญ
Menstrual Migraine, Frovatriptan, Triptans