0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
การใช้ Vitamin D ในการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ชื่อบทความ
การใช้ Vitamin D ในการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ผู้เขียนบทความ
ภญ.ธาริณี เที่ยงสกุล, อ.ภญ.สิรนันท์ กลั่นบุศย์
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม
1008-1-000-001-12-2563
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
18 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ
17 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือ Multiple sclerosis (MS) เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกผิดปกติ ทำให้มีการทำลายปลอกหุ้มใยเส้นประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้เกิดอาการทางระบบประสาทตรงบริเวณรอยโรค ผู้ป่วยโรค MS ส่วนมากจะมีอาการกำเริบสลับกับทุเลา เรียกว่า Relapsing–Remitting MS (RRMS) ซึ่งแนวทางสำหรับรักษาจะแนะนำให้ใช้ยากลุ่ม disease modifying therapy เช่น Interferon beta-1a หรือ 1b ในแง่ของการป้องกันการกำเริบของโรค vitamin D อาจมีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรค MS โดยใช้เป็นยาเสริม (add-on therapy) เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็น immunomodulator ที่มีผลช่วยลดกระบวนการอักเสบและการทำลาย myelin sheath ทั้งนี้ในปัจจุบันแนวทางการรักษา RRMS ยังไม่มีคำแนะนำให้ใช้ vitamin D3 เป็น add-on therapy เนื่องจากข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ยังไม่เพียงพอ การศึกษาแบบ Meta-analysis ในปี ค.ศ. 2018 พบว่า การให้ vitamin D ในขนาดสูงอาจทำให้การกลับเป็นซ้ำของ MS ในเวลา 1 ปีแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ placebo ขณะที่การศึกษาแบบ Randomized controlled trial (RCT) ชื่อ SOLAR trial พบว่า vitamin D3 ในขนาดสูง คือ 14,000 IU/day ไม่ได้เพิ่มประโยชน์ด้านผลลัพธ์หลักคือ การรุดหน้าของโรคไม่ได้ดีขึ้น แต่ในส่วนผลลัพธ์รองยังคงได้ประโยชน์ คือ มี combined unique active (CUA) lesion ลดลง และผลการศึกษาจาก CHOLINE trial พบว่า vitamin D3 ในขนาดที่สูงมาก คือ 100,000 IU/day พบประโยชน์ด้านผลลัพธ์หลัก คือ มีการกลับมาเป็นซ้ำของโรคภายใน 1 ปีน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ placebo จะเห็นได้ว่าข้อมูลของ vitamin D3 ด้านประสิทธิภาพยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดในการรักษา RRMS
คำสำคัญ
Multiple sclerosis, RRMS, Vitamin D3, Cholecalciferol