ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
วัคซีน: ความหวังใหม่ในการป้องกันและรักษา COVID-19
ชื่อบทความ วัคซีน: ความหวังใหม่ในการป้องกันและรักษา COVID-19
ผู้เขียนบทความ ภญ.จันทนา ห่วงสายทอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-012-09-2563
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 30 ก.ย. 2563
วันที่หมดอายุ 29 ก.ย. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (severe acute respiratory syndrome coronavirus 2: SARS-CoV-2) หรือชื่อที่องค์การอนามัยโลกเคยใช้คือ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) มีความรุนแรงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเจ็บป่วยโดยรวมเนื่องจากการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จากสถานการณ์ทั่วโลกมีอัตราค่อนข้างสูง ดังนั้น วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงเป็นวัคซีนที่อาจจะมีในอนาคตเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID‑19) โดยมีองค์กรหลายองค์กรที่พยายามพัฒนาวัคซีนนี้ ซึ่งจากการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลกในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 คาดว่าจะมีวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่เป็นเหตุของโรคอย่างเร็วภายใน 18 เดือน ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2563 มีวัคซีนต้นแบบ 140 ชนิดที่กำลังพัฒนา และ 23 ชนิดได้เริ่มศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยกับมนุษย์ บทความนี้จึงขอมุ่งเน้นเกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการพัฒนาวัคซีน SARS-CoV-2 เพื่อป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา และยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อ และข้อมูลการทดสอบวัคซีนกับคนในระยะที่ 3
คำสำคัญ
covid-19, SARS-CoV-2, coronavirus vaccine
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe