ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิกที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568

บทความวิชาการ
การจัดการสารน้ำในทารกแรกเกิด (Fluid management in newborns)
ชื่อบทความ การจัดการสารน้ำในทารกแรกเกิด (Fluid management in newborns)
ผู้เขียนบทความ ภญ. ธิตินันท์ รักษ์หนู และ อ.ภก.ภัทรพันธ์ สุขวุฒิชัย
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-002-07-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 10 ก.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 09 ก.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
พื้นฐานสำคัญในการบริบาลผู้ป่วยทารกแรกเกิด* เริ่มต้นจากการจัดการสารน้ำ ทารกแรกเกิดแต่ละรายมีความต้องการสารน้ำทางหลอดเลือดที่มีปริมาณและองค์ประกอบแตกต่างกัน หากทารกแรกเกิดได้รับสารน้ำไม่เหมาะสมจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เภสัชกรสามารถมีส่วนร่วมในทีมสหสาขาวิชาชีพในการจัดการสารน้ำและยาทางหลอดเลือดได้ โดยเข้าใจพยาธิสรีรวิทยาของทารกแรกเกิดเกี่ยวกับสมดุลสารน้ำและโซเดียม ได้แก่ ทารกมีน้ำหนักตัวและปริมาณน้ำในร่างกายลดลงของตามสรีรวิทยาในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด องค์ประกอบของสารน้ำในร่างกายของทารกในครรภ์และทารกแรกเกิดแตกต่างกัน โดยเมื่อเทียบกับช่วงทารกในครรภ์ ทารกแรกเกิดมีสัดส่วนปริมาณน้ำในร่างกายลดลงเนื่องมาจากการลดลงของสารน้ำนอกเซลล์ จากนั้นปริมาณน้ำในร่างกายจะลดลงต่อเนื่องจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้การทำงานของอวัยวะที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ความสามารถในการทำให้ปัสสาวะเข้มข้นหรือเจือจาง ข้อจำกัดด้านพัฒนาการและสมดุลของไต ปริมาณปัสสาวะที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง สารน้ำที่สูญเสียไปโดยไม่รู้ตัว การบริหารสารน้ำที่ประกอบด้วยน้ำและโซเดียมในปริมาณที่แตกต่างกัน ล้วนส่งผลต่อสมดุลของสารน้ำและโซเดียมได้ การคำนวณและวางแผนการให้สารน้ำตามความต้องการโดยพิจารณาจากหลักการคำนวณสารน้ำตามความต้องการของทารกแรกเกิด ซึ่งขึ้นอยู่กับสารน้ำที่ต้องการต่อเนื่อง (maintenance fluids) สารน้ำที่สูญเสียไปโดยไม่รู้ตัว (insensible water loss) และการสูญเสียสารน้ำอื่น ๆ การประเมินอาการและอาการแสดงทางคลินิก การพิจารณาผลทางห้องปฏิบัติการ และการติดตามสมดุลของสารน้ำในร่างกายทารกแรกเกิด สามารถนำมาปรับใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
ทารกแรกเกิด การจัดการสารน้ำ การคำนวณสารน้ำ การติดตามสมดุลสารน้ำ