ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
กาเฟอีนบำบัดสำหรับทารกแรกเกิดก่อนกำหนด (Caffeine Therapy for Prematurity)
ชื่อบทความ กาเฟอีนบำบัดสำหรับทารกแรกเกิดก่อนกำหนด (Caffeine Therapy for Prematurity)
ผู้เขียนบทความ ภก.นันทพงศ์ บุญฤทธิ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-1-000-008-07-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 09 ก.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 08 ก.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
กาเฟอีน (caffeine) เป็นสารในกลุ่ม methylxanthine มีบทบาทสำคัญในการประคับประคองระบบทางเดินหายใจของทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ลดความถี่ของการหยุดหายใจ ลดการเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และลดความล้มเหลวในการถอดท่อช่วยหายใจในทารกแรกเกิดก่อนกำหนด นอกจากนี้กาเฟอีนสามารถลดการเกิดโรคปอดเรื้อรัง ลดความจำเป็นในการรักษาภาวะดักตัส อาร์เทอริโอซัสยังคงอยู่ (patent ductus arteriosus) ซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิด ลดความรุนแรงของภาวะจอประสาทตาอักเสบ และลดความผิดปกติของระบบประสาทและพัฒนาการในอนาคต เนื่องจากกาเฟอีนออกฤทธิ์ต้านตัวรับอะดีโนซีน (adenosine) ในระบบอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ทางเดินหายใจ หัวใจ หลอดเลือด ไต จอประสาทตา และสมอง โดยพิจารณาให้ยาภายใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ต่อเนื่องไปจนกระทั่งทารกมีอายุ 33-34 สัปดาห์หลังมารดามีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (postmenstrual age) หรือหลังจากหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกและไม่มีกลุ่มอาการหยุดหายใจอย่างน้อย 5-7 วัน กาเฟอีนชนิดให้ทางปากสามารถถูกดูดซึมได้ดีเทียบเท่ากับการให้ยาทางหลอดเลือดดำ สามารถกระจายไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายโดยไม่เกิดการสะสม โดยถูกขับออกทางปัสสาวะในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงประมาณร้อยละ 86 ที่เหลือจะถูกเมแทบอลิซึมที่ตับโดยอาศัยเอนไซม์ CYP1A2 กาเฟอีนมีข้อดีที่เหนือกว่ายาชนิดอื่นในกลุ่ม methylxanthine คือ มีดัชนีการรักษากว้าง และมีครึ่งชีวิตยาวจึงสามารถบริหารยาวันละครั้งได้ ทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับกาเฟอีนในขนาดการรักษามักทนผลข้างเคียงจากยาได้ดี ผลข้างเคียงโดยทั่วไปของกาเฟอีนได้แก่ การเพิ่มอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ทารกมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ ซึ่งควรพิจารณาหยุดยาชั่วคราวเมื่ออัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 180 ครั้ง/นาที
คำสำคัญ
กาเฟอีน, ทารกแรกเกิดก่อนกำหนด, caffeine, preterm neonates, prematurity
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์ ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)