ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
We are the one: SOLIDARITY clinical trial for COVID-19 treatments
ชื่อบทความ We are the one: SOLIDARITY clinical trial for COVID-19 treatments
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.ภญ. จุราพร พงศ์เวชรักษ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-003-06-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 25 มิ.ย. 2563
วันที่หมดอายุ 24 มิ.ย. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส กลุ่มโคโรนาไวรัสที่ก่อโรคต่อระบบทางเดินหายใจ ชนิดใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน เริ่มต้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ในประเทศจีน ซึ่งต่อมาตั้งชื่อเชื้อว่า Severe Acute Respiratory Syndromes Corona Virus 2 (SARS-CoV 2) และเรียกชื่อโรค โควิด-19 จนกระทั่งเมื่อการติดเชื้อขยายเป็นวงกว้างไปทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตจากปอดอักเสบรุนแรง องค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินระดับสากล ด้วยสภาวะที่เป็นการติดเชื้อชนิดใหม่และรุนแรง ทั้งยังไม่มียารักษา ทำให้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องหายารักษาที่ได้ผลก่อนที่การค้นพบวัคซีนป้องกันจะประสบผลสำเร็จ องค์การอนามัยโลกจึงริเริ่มให้มีการศึกษาทางคลินิก เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยาที่มีข้อมูลเบื้องต้นว่าอาจมีศักยภาพต่อเชื้อ SARS-CoV 2 ชื่อการศึกษาทางคลินิก สื่อว่าเป็นความร่วมมือร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกันของนานาชาติคือ SOLIDARITY clinical trial ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษายาทางคลินิก แบบเปิดชนิดสุ่มควบคุม มียาที่ต้องการศึกษา 4 ชนิด เปรียบเทียบกับการรักษามาตรฐานคือการให้ออกซิเจนและหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ การศึกษาเป็น adaptive design คือสามารถปรับเปลี่ยนยาที่ศึกษาได้ ตามผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาชนิดสุ่มควบคุมที่น่าเชื่อถือในห้วงเวลาปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด สามารถลดระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาและใช้ผู้ป่วยจำนวนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการศึกษาเดี่ยวชนิดสุ่มควบคุม ยาที่ศึกษาใน SOLIDARITY trial ได้แก่ remdesivir, lopinavir/ritonavir  interferon  1a, hydroxychloroquine ยาเหล่านี้เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้อื่นมาก่อนแล้ว มีข้อมูลความปลอดภัยในคน และมีข้อมูลในระดับหลอดทดลองหรือในสัตว์ทดลองที่บ่งชี้ว่ายาอาจมีศักยภาพต่อเชื้อ SARS-CoV 2 ผลลัพธ์หลักที่ศึกษาคืออัตราการตายของผู้ป่วย จนถึงขณะนี้ (17 มิถุนายน พ.ศ. 2563) องค์การอนามัยโลกได้ยุติการศึกษายา hydroxychloroquine อย่างถาวรเนื่องจากได้ผลว่าไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคโควิด-19
คำสำคัญ
SOLIDARITY trial, COVID-19, treatment, World Health Organization (WHO), SARS-CoV 2