ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางคลินิกของ Tenofovir alafenamide fumarate (TAF) ในการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางคลินิกของ Tenofovir alafenamide fumarate (TAF) ในการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี
ผู้เขียนบทความ อ.ภญ. ทิวาพร ทองสุทธิ์, อ.ภญ. สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-002-06-2563
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 23 มิ.ย. 2563
วันที่หมดอายุ 22 มิ.ย. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การพัฒนายาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีในปัจจุบันนอกจากมุ่งเน้นประสิทธิภาพให้สามารถลดและควบคุมปริมาณไวรัสให้น้อยและนานที่สุดแล้ว ยาต้องมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในระยะยาวเนื่องจากการรักษานั้นผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานทำให้มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้สูง ยา tenofovir disoproxil fumarate (TDF) เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพและผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดี แต่พบปัญหาต่อไตและกระดูก ปัจจุบันได้มีการพัฒนายาตัวใหม่ขึ้นคือ tenofovir alafenamide fumarate (TAF) ซึ่งเป็น prodrug ของยา tenofovir (TFV) ในรูปแบบเกลือแบบใหม่ที่มีคุณสมบัติด้านเภสัชพลศาสตร์และเภสัจลนศาสตร์ที่แตกต่างจาก TDF โดยผลการศึกษาทางคลินิกพบว่า TAF มีประสิทธิภาพในการลดและควบคุมระดับไวรัสเอชไอวีได้ไม่แตกต่างจาก TDF ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษามาก่อน และพบว่ามีความปลอดภัยต่อไตและกระดูกมากกว่า อย่างไรก็ตาม TAF พบอาการข้างเคียงที่สำคัญคือการเพิ่มระดับไขมันในเลือด รวมทั้งยังไม่ได้รับการบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติทำให้ยังคงเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงยาในประเทศไทย
คำสำคัญ
Tenofovir alafenamide fumarate เอชไอวี ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย