ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
ไลโปโซม : พัฒนาการจากอดีตจนถึงปัจจุบันและการใช้ประโยชน์
ชื่อบทความ ไลโปโซม : พัฒนาการจากอดีตจนถึงปัจจุบันและการใช้ประโยชน์
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ.ลลนา คงคาเนรมิตร
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-1-000-002-06-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 02 มิ.ย. 2563
วันที่หมดอายุ 01 มิ.ย. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ระบบนำส่งยาในรูปแบบไลโปโซมได้ผ่านการพัฒนามามากกว่า 60 ปีแล้ว จนถึงปัจจุบันนี้มียาที่จำหน่ายในท้องตลาดมากกว่า 10 ชนิด ส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในสูตรตำรับ คือสารในกลุ่ม phospholipid ไลโปโซมมีโครงสร้างเป็นอนุภาคที่มีเมมเบรนหรือผนัง 2 ชั้น สามารถกักเก็บสารได้ทั้งชนิดที่ละลายน้ำและละลายน้ำมัน โดยพื้นฐานอาจจำแนกชนิดของไลโปโซมตามขนาดและจำนวนชั้นของเมมเบรน กรณีมีสารในตำรับที่ซับซ้อนมากขึ้นอาจจะจำแนกตามส่วนประกอบและ/หรือหน้าที่ที่เฉพาะเจาะจงลงไป ไลโปโซมเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีการกระจาย ถูกทำลาย หรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในการพัฒนาสูตรตำรับ ตัวอย่างไลโปโซมชนิดต่าง ๆ ได้แก่ conventional liposomes, PEGylated liposomes (stealth liposomes), ligand-targeted liposomes, theranostic liposomes, super stealth liposomes, transferosomes, ethosomes, pH-sensitive liposomes, cationic liposomes สำหรับไลโปโซมที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง (Doxil®, DaunoXome®, Depocyt®, Myocet®, Mepact®, Marqibo®, OnivydeTM) การติดเชื้อรา (Ambisome®) โรคตา (Visudyne®) การจัดการอาการปวด (DepoDurTM, Exparel®) วัคซีน (Epaxal®, Inflexal® V) และที่กำลังศึกษาทดลองทางคลินิกอีกกว่า 10 ชนิด จากจำนวนเภสัชภัณฑ์ที่ปรากฏจึงเป็นที่ประจักษ์ได้ว่าระบบนำส่งยาในรูปแบบไลโปโซมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของระบบนำส่งยาที่สามารถนำส่งยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
ไลโปโซม, โครงสร้าง, การถูกทำลาย, เป้าหมาย, มะเร็ง