ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 5 ธ.ค. 2567 และ 19 ธ.ค. 2567

บทความวิชาการ
ยารับประทานรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง (Antiviral therapy for chronic HCV infection)
ชื่อบทความ ยารับประทานรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง (Antiviral therapy for chronic HCV infection)
ผู้เขียนบทความ ภญ.ประภาพร เป็งธินา และ รศ.ดร.ภญ.ศิริมา มหัทธนาดุลย์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-1-000-006-05-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 28 พ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 27 พ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ตับอักเสบจากไวรัส (viral hepatitis) เป็นภาวะติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับ และมีการตายของเซลล์ตับจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อกำจัดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบมี 7 ชนิดตั้งแต่ เอ ถึง จี แต่ไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อแบบเรื้อรังที่สามารถพัฒนาเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ นอกจากนี้ยังพบผู้ที่กลายเป็นพาหะซึ่งสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะไม่แสดงอาการของโรคก็ตาม ในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ประมาณร้อยละ 60-80 ของผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง และประมาณร้อยละ20-30 ของผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรังจะตามมาด้วยโรคตับแข็งที่มีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ประมาณร้อยละ 1-4 ต่อปีดังนั้นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจึงยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข และผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีที่ตรวจพบระดับ HCV RNA > 15 IU/ml ควรได้รับการรักษาทุกราย เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามีโอกาสที่จะกำจัดเชื้อให้หมดไปได้และลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ แนวทางการรักษาเดิมที่ต้องใช้ยาที่ประกอบด้วยยาฉีดกลุ่ม Peg-interferon เป็นยาหลักในการรักษา มีข้อจำกัดด้านข้อห้ามและความปลอดภัยในการใช้ยา ในปัจจุบันได้มีการแนะนำให้ใช้ยากลุ่ม direct-acting antivirals (DAAs) ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่างกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปร่วมกัน หรือ IFN-free DAA therapy เป็นสูตรยาหลักในการรักษา ซึ่งเป็นยารับประทานในรูปแบบยาเม็ดเดี่ยว และรูปแบบยาสูตรรวมเม็ด ทั้งนี้ควรพิจารณาเลือกใช้ในรูปแบบรวมเม็ดเป็นอันดับแรก เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย การเลือกสูตรรักษาและระยะเวลาของการรักษาพิจารณาตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสและลักษณะของผู้ป่วย เช่น ระดับ HCV RNA มีภาวะตับแข็ง มีการทำงานของไตบกพร่อง มีการติดเชื้อเอชไอวีและ/หรือไวรัสตับอักเสบ บี ร่วม เป็นต้น โดยทั่วไปมีระยะเวลาในการรักษา 12-24 สัปดาห์ และในผู้ที่มีภาวะตับแข็งมักให้ ribavirin ร่วมในการรักษา การหลีกเลี่ยงการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาอื่นที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ร่วมจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาโรคและความปลอดภัยของการใช้ยารักษา นอกจากนี้การให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวและการลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการรักษาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำสำคัญ
ไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง; chronic viral hepatitis C; direct-acting antivirals (DAAs); NS3/4A serin
วิธีสมัครสมาชิก
ขณะนี้ทางหน่วยงานเปิดให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและเริ่มทำแบบทดสอบได้โดยไม่จำกัดสิทธิ์ ท่านสามารถอ่านและทำแบบทดสอบบทความทางวิชาการ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสารงานประชุมของทางหน่วยงานได้เลย (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)